การอ่านค่าตัวเก็บประจุ
การบอกค่าความจุส่วนใหญ่มักออกมาในรูปของ
การพิมพ์ค่าบนตัวเก็บประจุเลย และบอกค่าเป็นตัวเลขรหัส ซึ่งการอ่านค่าทั้งสองแบบ
มีวิธีการดังนี้
การอ่านค่าโดยตรง
ค่าของตัวเก็บประจุปกติมี
2 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยไมโครฟารัด (uF) กับพิโกฟารัด (pF) ซึ่งการอ่านค่าวิธีนี้ในบางครั้ง
ผู้ผลิตอาจบอกค่าความจุแต่เพียงตัวเลขอย่างเดียว ส่วนหน่วยนั้นเขาละกันเอาไว้ในฐานที่เข้าใจกัน
การบอกค่าแบบเป็นตัวเลขมีค่าน้อยกว่า
1 (ค่าที่พิมพ์บนตัวเก็บประจุ) ค่าที่อ่านได้ก็จะมีหน่วยเป็นไมโครฟารัด (uF)
เช่น 0.1 หมายถึง 0.1 ไมโครฟารัด (รูปที่ 10)

รูปที่ 10 การอ่านค่าความจุแบบเป็นตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 1
การอ่านค่าแบบเป็นตัวเลขมีค่ามากกว่า
1 ค่าที่อ่านได้ก็จะมีหน่วยเป็นพิโกฟารัด (pF) เช่น 20 หมายถึง 20 พิโกฟารัด
(รูปที่ 11) ยกเว้นในกรณีที่มีหน่วยตามหลังเช่น 10uF ค่าที่อ่านได้เท่ากับ
10 ไมโครฟารัด และตัวเลขที่บอกค่าเกิน 2 หลัก เช่น 101 ไม่เท่ากับ 101 พิโกฟารัด
แต่เราจะอ่านค่าโดยการแปรรหัสดังที่จะนำมากล่าวต่อไป

รูปที่ 11 การอ่านค่าความจุแบบไม่มีจุดทศนิยมอยู่ข้างหน้าตัวเลขจำนวนเต็ม
การอ่านค่าโดยการแปรรหัส
การอ่านค่าความจุในลักษณะนี้จำเป็นจะต้องอาศัยเทคนิคเล็กน้อยในรูปที่
12 สังเกตได้ว่าค่าของตัวเก็บประจุที่บอกเป็นรหัส (ตัวเลข) สองหลักแรกให้คงไว้
และหลักที่สามเป็นจำนวนศูนย์ที่นำมาต่อท้ายเลขสองหลักแรก เช่น 101 ก็จะเท่ากับ
100 ส่วนหน่วยที่ได้จาก การอ่านค่าวิธีนี้คือพิโกฟารัด เพราะฉะนั้นค่าที่ได้จึงเท่ากับ
100 พิโกฟารัดนั่นเอง
ส่วนค่าผิดพลาดถูกบอกในรูปของอักษรแทนเช่น
ตัว K มีค่าผิดพลาดเท่ากับ + - 10% ดังแสดงไว้ในรูปที่ 12

รูปที่ 12 แสดงการอ่านค่าตัวเก็บประจุที่บอกเป็นรหัส
|