สรุปส่งท้าย
ผมจะสรุปคุณสมบัติของไดโอดให้อีกรอบอย่างสั้นๆ
ครับ
ถ้าต่อกับไฟฟ้ากระแสตรง
เช่น แบตเตอรี่
-
เมื่อต่อไฟฟ้าขั้วบวก (+) เข้าขั้วแอโนด (A) ของไดโอด มันจะยอมให้ไฟบวกผ่านได้
-
เมื่อต่อไฟฟ้าขั้วลบ (-) เข้าหาขั้วแคโทด (K) ของไดโอด มันจะยอมให้ไฟลบผ่านได้
ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 ก.แสดงการต่อไฟกระแสตรงกับไดโอด
ข. ถ้าสลับขั้วไดโอดต้องสลับขั้วแบตเตอรี่ด้วยกระแสไฟจึงไฟลผ่านได้
ถ้าต่อกับไฟฟ้ากระแสสลับ
เช่น ไฟบ้านขนาด 220 โวลต์ แล้วผ่านหม้อแปลงให้เหลือไฟต่ำ
-
เมื่อต่อไฟฟ้ากระแสสลับเข้าหาขั้วแอโนด (A) ของไดโอด มันจะยอมให้ไฟบวกผ่านได้อย่างเดียว
-
และถ้าต่อไฟฟ้ากระเสสลับเข้าหาขั้วแคโทด (K) ของไดโอดมันจะยอมใ้หไฟลบผ่านได้อย่างเดียว
ดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 ก. การต่อไฟกระแสสลับเข้ากับไดโอดจะมีเฉพาะไฟขั้วบวกออกมา
ถ้าต่อตามรูป ข จะได้เฉพาะไฟลบออกมา
จากคุณสมบัติของไดโอดที่อธิบายมาทั้งหมดนี้
นักอิเล็กทรอนิกส์สมัครเล่นก็คงพอที่จะมีช่องทางนำไดโอดไปใช้งาน ได้แล้วนะครับ
|