อย่ามองข้ามความปลอดภัย
เริ่มต้นกันตั้งแต่ตอนใส่อุปกรณ์ลงบนแผ่นวงจรพิมพ์กันเลย
ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้ถ้าขาดความรอบคอบ หรือความระมัดระวัง ซึ่งข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นที่พบกันอยู่บ่อยๆ
นั้นอันดับแรกก็คือ ใส่ตัวต้านทานผิดค่าจากที่ระบุไว้ในวงจร ซึ่งค่าของตัวต้านทานนั้นจะถูกแสดงไว้ด้วยแถบสีบนตัวของมันเอง
และผู้สร้างจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของ แถบสีแต่ละสีบนตัวของมันให้ถ่องแท้เสียก่อน
เพราะถ้าอ่านค่าสีผิดพลาด แล้วจะมีผลต่อโครงงานชิ้นนั้นแน่ๆ บางทีผลที่ได้อาจ
จะน้อยนิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่บางทีก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ราคาแพงๆ
ื่อนๆ ที่ต่อรวมบนแฟ่นวงจรพิมพ์เดียวกัน ก็ได้ หรือการทำงานของโครงงานนั้นผิดเพี้ยนไปเลย
ถ้าจะให้ดีต่อโครงงานแล้วควรจะอ่านค่าสีของตัวต้านทานให้ถูกต้องตรงกับ ที่ระบุไว้ในวงจรก่อนที่จะใส่ลงบนแผ่นวงจรพิมพ์
นอกจากการอ่านค่าสีให้ถูกต้องแม่นยำแล้ว
ขนาดกำลังวัตต์ของตัวต้านทานก็ควรเลือกใช้ให้ตรงกับที่ระบุไว้ในวงจรด้วย
นั่นคือไม่ควรใช้ขนาดตัวต้านทานที่กำลังวัตต์น้อยกว่าใส่แทนลงไป เช่นตัวต้าทานขนาด
1/4 วัตต์แทน 1/2 วัตต์หรือใหญ่กว่า ถ้าใช้ตัวต้าทานขนาดเล็กกว่าที่ระบุไว้
จะทำให้ตัวต้าทานทนกำลังงานที่เกิดขึ้นที่ตัวมันไม่ไหว ทำให้เกิดความร้อนมากขึ้นและไหม้
ในที่สุด แต่ในทางกลับกัน อาจใช้ตัวต้านทานขนาดวัตต์มากกว่าใส่แทนได้ แต่มีข้อเสียก็คือ
ตัวโตและราคาแพงกว่านั่นเอง ทางที่ดีที่สุดก็คือใช้ให้ตรงกับที่ระบุไว้ในวงจรหรือรายการอุปกรณ์นั่นแหละ
สำหรับอุปกรณ์ที่มีค่าระบุไว้ที่ตัวถัง
คล้ายๆ กับตัวต้านทานอีกชนิดหนึ่งก็คือ ตัวเก็บประจุซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด
ส่วนใหญ่จะบอกค่าอยู่ในรูปของตัวเลข มีส่วนน้อยที่เป็นรหัสสี ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กทรอไลติกจะบอกค่าและขั้วของมันมาให้เลย
ที่ตัวถัง ซึ่งแน่นอนในชนิดที่ต้องอ่านค่าจากรหัสตวเลขนั้นต้องมีความเข้าใจและอ่นให้ถูกต้องด้วย
เช่นรหัสตัวเลขบนตัวเก็บประจุ ชนิดไมลาร์ 473 อ่านได้เท่ากับ 0.047 ไมโครฟารัด
เป็นต้น
และในอุปกรณ์ที่มีขั้วทั้งหลายเช่น
ทรานซิสเตอร์ IC ไดโอด หรือตัวเก็บประจุบางชนิด เป็นต้น ต้องใส่ให้ถูกขั้วของมันตาม
วงจรที่ระบุไว้ด้วย
นอกจากการใส่อุปกรณ์ชนิดต่างๆ
ให้ถูกต้องตามวงจรของมันแล้วอีกขั้นตอนหนึ่งที่จะต้องระมัดระวังก็คือ การบัดกรี
ไม่ใช่ว่าท่าบัดกรีไม่สวย หรือไม่เท่แล้วทำให้วงจรไม่ทำงานไม่เกี่ยวกันครับ
จะตีลังกาบัดกรียังไงก็ได้ แต่ที่จะต้องระวังก็คือ สะเก็ดจากตะกั่วขณะที่บัดกรี
เพราะว่าสะเก็ดตะกั่วชิ้นเล็กๆ นี่ครับ ก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากแล้วมากมาย
เนื่องจากสะเก็ดเหล่านี้ อาจจะกระเด็นไปตกลงระหว่างลายทองแดงด้วยกัน แลัวทำให้ลายทองแดงเกิดลัดวงจรขึ้น
วงจรอาจทำงานฟิดพลาดหรือเสียหาย ก็ได้ ดังนั้นควรระวังที่จุดนี้ด้วยเช่นกัน

รูปเศษตะกั่วที่เลอะลายทองแดงทำให้เกิดการลัดวงจรขึ้น
บางทีข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ด้วยเช่นกันเช่นในอุปกรณ์บางชนิดนั้นซึ่งมีความเปราะบางมาก
แม้แต่การสัมผัสจากมือของคนเราอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุปกรณ์นั้นได้เพราะว่าไฟฟ้าสถิตเพียงเล็กน้อยจากมือของเราที่
ไปสัมผัสโดนขาของมัน อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ IC ซีมอสทั้งหลายโดยๆ ทั่วไปแล้วบริษัทผู้ผลิตผู้ขาย
IC ประเภทนี้ จะเสียบบนโฟม ที่มีกระดาษฟอยล์อยู่แล้ว เพื่อป้องกันการเสียหายที่กล่าวมาจากข้างต้น
และในการบัดกรี IC ประเภทซีมอสนี้ไม่ควรบัดกรีที่ขาของ มันโดยตรง ควรใช้ซ๊อกเก็ต
IC บัดกรีลงไปก่อน แล้วค่อยเสียบ IC ลงไปทีหลัง

รูป IC ชนิดซีมอสที่ต้องเสียบบนกระดาษตะกั่วเพื่อกันผลจากไฟฟ้าสถิต
|