| HOME |

(24 มิถุนายน 2545)
สวัสดีครับ อัปเดตสำหรับวันนี้ ก็จะเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์จากรอบคัดเลือก เมื่อวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2545 ที่ผ่านมา ผลงานที่ได้เข้าสู่รอบตัดสินตอนนี้มีอยู่ 5 ชิ้น ด้วยกัน (ยังมีเหลือ 2-3 ชิ้น ยังไม่เรียบร้อยดี เจ้าของผลงานได้รับกลับไปปรับปรุง)

สำหรับท่านที่ผลงานยังไม่เรียบร้อยแต่ยังมีความประสงค์ที่จะส่งเข้าประกวด ทางวารสารได้ขยายเวลารับผลงานออกไป จนถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2545 นี้ ที่ซีเอ็ดสำนักงานใหญ่ เนชั่นทาวเวอร์ ตามที่อยู่ด้านล่าง ตั้งแต่เวลา 10.30-17.00น. ด่วนเลยครับ! สำหรับท่านที่มีข้อสงสัย ติดต่อได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-751-5800 ต่อ 3570-3572

ผลงานสิ่งประดิษฐ์จากวงจรรถกระป๋องที่ผ่านรอบคัดเลือก

(ลำดับที่เรียง ไม่ได้เรียงตามลำดับคะแนนแต่อย่างใด )

1. เครื่องบอกสถานที่คนตาบอด

ผู้ประดิษฐ์
- นายชาญเดช ชลกิจ
- นายพิเชษฐ์ โกเศยะโยธิน
- นายมนัส ภาระเปลื้อง
สังกัด
วิทยาลัยการอาชีพนายายอาม จังหวัดจันทบุรี


2. RC SPRAYER

ผู้ประดิษฐ์
- เด็กชายชัยณรงค์ พุ่มโพธิ์ทอง
- เด็กชายอนุวัฒน์ อุ้ยหะ
- เด็กหญิงกรรณิการ์ ขำอิ่ม

สังกัด
โรงเรียนจิระประวัติวิทยาคม อ.เมือง จ.นครสวรรค์


3. เปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ด้วยรีโมตรถกระป๋อง

ผู้ประดิษฐ์
- นายธีระพงษ์ กิตติรัตนากร


4. รถสะเทือนบก

ผู้ประดิษฐ์
- นายโกวิท โซวสุวรรณ


5. เปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า 8 ช่องด้วยรีโมตรถกระป๋อง

ผู้ประดิษฐ์
- นายอาเขต บุญทาราม


(11 มิถุนายน 2545) :
สวัสดีครับ.. ตอนนี้กำลังทะยอยอัปเดตข้อมูลรถกระป๋อง เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง และเป็นวัตถุดิบ ในการนำไปออกแบบ สิ่งประดิษฐ์จากวงจรรถกระป๋อง ซึ่งจะมีให้ทั้งวงจรเครื่องรับเครื่องส่ง, ดาต้าชีต ข้อมูลในไอซีตัวรับตัวส่ง (TX-2 และ RX-2) สำหรับเว็บบอร์ดเฉพาะกิจ เพื่อไขปัญหาวงจรรถกระป๋องให้โดยเฉพาะ ยังไม่เรียบร้อยครับ ท่านที่มีปัญหาอยู่ไม่ต้องรอถามในเว็บบอร์ด ให้ส่งเป็นอีเมล์มาโดยตรงมาที่ กองบรรณาธิการวารสาร HOBBY ELECTRONICS hobby@se-ed.com แล้วจะมาอัปเดตเฉลยข้อข้องใจให้ ติดตามได้ในหน้านี้ครับ

สำหรับการลงทะเบียนส่งผลงานเข้าประกวด ให้อีเมล์หรือจดหมายมาด่วนเลยครับ ส่งมาได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2545 นี้ครับ..


วงจรสมบูรณ์ของรถกระป๋อง จากวารสาร HOBBY ELECTRONICS

วงจรภาคส่ง (TRANSMITTER)

คลิกเพื่อดูรูปขยาย

วงจรภาครับ (RECEIVER)

คลิกเพื่อดูรูปขยาย

คลิก เพื่อดูรูปขยาย คลิก เพื่อดูรูปขยาย

ดาต้าชีต (Data sheet) ของไอซีภาคส่ง (TX-2, PT8A977P) และภาครับ (RX-2, PT8A978P) pt8a977_978p.pdf (104kb) หรือถ้าต้องการรายละเอียดไอซีเพิ่มเติม หรือข้อมูลไอซีเบอร์อื่นๆ ดูได้ที่ Pericom Technology Inc.

ดาต้าชีตทรานซิสเตอร์คู่คอมพลีเมนตารี ที่ใช้ขับมอเตอร์ในรถกระป๋อง S8050 (npn) s8050.pdf (45kb) และ S8550 (pnp) s8550.pdf (45kb)


การลงทะเบียนส่งผลงานเข้าประกวด

สำหรับท่านที่มีไอเดียสิ่งประดิษฐ์แล้ว ต้องการจะส่งสิ่งประดิษฐ์เข้าประกวด ก็สามารถที่จะส่งข้อมูลมาลงทะเบียนไว้ก่อนได้เลย เหตุที่ต้องจัดใหมีการลงทะเบียนไว้ก่อน ก็เพื่อที่จะใช้เป็นข้อมูลในการจัดคิวการรับสมัครรับผลงานในรอบแรก โดยการลงทะเบียนสามารถจะทำได้ทั้งทาง อีเมล์ และจดหมาย โดยรายละเอียดของการลงทะเบียนก็ให้แจ้งชื่อ/ที่อยู่ติดต่อ-หมายเลขโทรศัพท์, ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะส่งเข้าประกวด, รายละเอียดสิ่งประดิษฐ์พอสังเขป
ดังตัวอย่าง...

ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ ................................................
รายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์ ........................( อธิบายสั้นๆ ถึงลักษณะว่าเป็นอย่างไร มีการทำงานหรือการนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร)
ชื่อผู้ประดิษฐ์ ..................................................
ที่อยู่ ...................... .......................... ............................. ...................
หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ................................................
อีเมล์ ................................................

ส่งข้อมูลลงทะเบียนมาที่ อีเมล์ hobby@se-ed.com หรือทางจดหมายส่งมาที่

กองบรรณาธิการ วารสาร HOBBY ELECTRONICS
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
อาคารเนชั่นทาวเวอร์ชั้นที่ 19
เลขที่ 46/87-90 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา
กรุงเทพฯ 10260
(จดหมายวงเล็บที่มุมซอง การประกวดสิ่งประดิษฐ์)

โทรศัพท์ 02-751-5800 ต่อ 3570-3572 โทรสาร 02-751-5460-1


(20 พฤษภาคม 2545) :
สวัสดีครับ 4-7 กรกฎาคมปีนี้ เรามีนัดกันเหมือนเช่นเคย ในงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ "Thailand Electronics & Industrial Technology 2002" ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานปีนี้ นอกจากจะมีการแสดงสินค้าในงานกว่า 200 บูธแล้ว ทางกลุ่มวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของทางซีเอ็ดยูเคชั่นเอง ยังได้มีกิจกรรมหลายอย่างน่าสนใจ กิจกรรมหนึ่งที่ถือได้ว่าสอดคล้องกับ concept "เรียนให้สนุก เล่นให้ได้ความรู้" ที่จะพูดถึงในที่นี้คือกิจกรรม "การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวงจรรถกระป๋อง" หรือ "MAGIC RACE-TIN CONTEST" สุดยอดของเล่น R/C สุดฮอตแห่งปี เล่นกันได้ทุกเพศทุกวัย ถึงวันนี้ก็ยังเป็นที่นิยมเล่นกันได้ไม่สร่างซา นอกจากการโมดิฟายแบบเดิมๆ ที่คุ้นเคยกัน หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า รถกระป๋องยังสามารถที่นำไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆ ได้อีก จากโครงสร้างวงจรภายในของตัวรีโมตแบบดิจิตอล 4+1 แชนเนล

เราจะมาตั้งโจทย์ง่ายๆ กันว่า รถกระป๋องนอกจากจะนำมาบังคับให้ทำงานเลี้ยวซ้ายขวา เดินหน้าถอยหลังนี้แล้ว เราจะยังสามารถนำเจ้าตัวรีโมตที่ราคาจะแสนถูกตัวนี้ ไปดัดแปลงประยุกต์ใช้งานด้านอื่นๆ ได้อีกหรือไม่ และอย่างไร กติกาง่ายๆ ครับ คือขอให้นำวงจรรีโมตของรถกระป๋องที่ว่านี้ อาจแกะมาจากรถเก่าที่เล่นเบื่อแล้ว ถือเป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือจะซื้อใหม่เลยก็ไม่ผิดกติกา ไม่จำกัดว่าวงจรจะใช้ของตราเพชรหรือจะใช้ยี่ห้อไหนๆ ก็ได้ หรือวงจรอื่นๆ ก็ได้ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกัน มาทำงานตามจินตนาการของแต่ละคน จะออกไอเดียหลุดโลกอย่างไร ไม่ว่ากัน ถือเป็นการประกวดที่เปิดกว้างทางความคิด จะมีกลไกประกอบด้วยหรือไม่ ก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม ก็ฝากให้เป็นโจทย์ไปคิดดูกัน ถ้าเข้าตากรรมการก็มีสิทธิ์ได้รางวัลเป็นทุนการศึกษาและโล่จากทางซีเอ็ดให้ด้วย

อีกกิจกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่น่าพลาดในงานนี้ ก็คือ "WORLD OF BEAM ROBOT" ซึ่งจะมีการนำตัวจริงของบีมโรบอตมาโชว์ให้รู้จักกันด้วยพร้อมสัมมนาวิชาการ ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ถ้าสนใจสองงานนี้ อย่าลืมพบกัน 4-7 กรกฎาคม 2545 "Thailand Electronics & Industrial Technology 2002" ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์.


MAGIC RACE-TIN CONTEST
การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวงจรรถกระป๋อง

"คุณคิดว่ารถกระป๋องทำอะไรได้มากกว่า วิ่งเดินหน้าถอยหลังหรือเปล่า?

ถ้าใช่.. คุณคือจุดแข็งที่เรากำลังค้นหา

เราขอท้าทายเซียนรถกระป๋องทั่วฟ้าเมืองไทย งานนี้ไม่ใช่แข่งความเร็ว และงานนี้ไม่ใช่แต่งรถให้เท่ แต่เป็นงานท้าประลองชิงแชมป์ไอเดียสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ โดยการนำเอาวงจรรถกระป๋องมาควบคุมหรือประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นๆ

... ถึงเวลารื้อวงจรรถกระป๋อง เติมความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ บวกไอเดียหลุดโลกพร้อมพลังสร้างสรรค์ของคุณ ส่งผลงานของคุณมา เราจะเป็นเวทีให้คุณ ...รถกระป๋องทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด "


โครงการ MAGIC RACE-TIN CONTEST
การประกวดสิ่งประดิษฐ์จากวงจรรถกระป๋อง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สนใจทั่วไป นักเรียนนักศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์คิดค้นผลงานใหม่ๆ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี ที่เป็นที่นิยมร่วมสมัย และใช้งานได้จริง
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

กำหนดการ

1 พฤษภาคม 2545 - 22 มิถุนายน 2545 : ลงทะเบียนแจ้งความจำนงที่จะส่งชิ้นงานเข้าประกวด โดยการส่งจดหมาย หรืออีเมล์ (มาตามที่อยู่ด้านล่าง แจ้งชื่อ/ที่อยู่ติดต่อ-หมายเลขโทรศัพท์, ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะส่งเข้าประกวด, รายละเอียดสิ่งประดิษฐ์พอสังเขป)

22 มิถุนายน 2545 : การรับสิ่งประดิษฐ์และพิจารณารอบแรก ณ สำนักงานใหญ่ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) อาคารเนชั่นทาวเวอร์ชั้นที่ 18 ถนนบางนา-ตราด กม. 4.5 (ผู้ส่งสิ่งประดิษฐ์ต้องเตรียมเงินค่าสมัคร 50 บาท และนำผลงานที่ส่งประกวดมาให้ดูด้วย-เสร็จแล้วนำสิ่งประดิษฐ์กลับบ้าน)

3 กรกฎาคม 2545 : ผู้ส่งผลงานทุกคนนำผลงานของตัวเองมาเตรียมแสดง ในงาน "Thailand Electronics & Industrial Technology 2002" ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

4-7 กรกฎาคม 2545 : แสดงผลงาน/สาธิตการทำงาน ให้ผู้สนใจเข้าชมในงาน "Thailand Electronics & Industrial Technology 2002" ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณจัดกิจกรรม "MAGIC RACE-TIN CONTEST"

6 กรกฎาคม 2545 : ตัดสินผลการประกวด

7 กรกฎาคม 2545 : ประกาศผลการตัดสินและมอบรางวัล

กติกา/คุณสมบัติของสิ่งประดิษฐ์ที่ส่งเข้าประกวด

1. เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาโดยผู้ส่งเข้าประกวด โดยการดัดแปลงใช้วงจรควบคุมรถกระป๋องหรือวงจรในลักษณะเดียวกัน ทั้งตัวรับตัวส่ง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง มาช่วยในการทำงาน
2. เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถทำงานหรือใช้งานได้จริงตามวัตถุประสงค์
3. เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ยังไม่เคยได้รับรางวัลใดๆ มาก่อน หากเคยได้รับรางวัลแล้วจะต้องได้รับการพัฒนาและแก้ไขให้ดีกว่าเดิม
4. เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จะต้องเสร็จสิ้นสมบูรณ์ สามารถสาธิตการทำงานได้ทันในช่วงเวลาที่จัดนิทรรศการ
5. มีการจัดทำเอกสารรายละเอียดประกอบการนำเสนอผลงาน

หมายเหตุ สิ่งประดิษฐ์ที่ผู้สร้างมีความประสงค์ที่จะขอรับสิทธิบัตร ควรยื่นจดสิทธิบัตรต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาไว้ก่อน เนื่องจากหากนำสิ่งประดิษฐ์มาเปิดเผยแล้ว ท่านจะเสียสิทธิในการรับความคุ้มครองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา

เอกสารประกอบการเสนอผลงาน (พิมพ์ด้วยกระดาษ A4) - ยื่นวันที่ส่งผลงานเข้ามาพิจารณา

1. ชื่อผลงานสิ่งประดิษฐ์
2. ชื่อผู้ประดิษฐ์ (ระบุหัวหน้าผู้ประดิษฐ์ให้ชัดเจน) /สถานศึกษา
3. ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์
4. ข้อมูลทั่วไป วัตถุประสงค์ ประโยชน์หรือคุณค่าของผลงาน
6. ที่มาของแนวความคิด /ลักษณะพิเศษของสิ่งประดิษฐ์
7. หลักการหรือขั้นตอนการทำงานของสิ่งประดิษฐ์
8. อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์
9. งบประมาณอุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์

เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล
1. คะแนนความคิดสร้างสรรค์
2. คะแนนประโยชน์ใช้สอย
3. คะแนนเทคนิคการสร้างและความเรียบร้อยสมบูรณ์ของงาน

รางวัล

1. รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เชิดชูเกียรติและใบประกาศเกียรติคุณ
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมโล่เชิดชูเกียรติและใบประกาศเกียรติคุณ
3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมโล่เชิดชูเกียรติและใบประกาศเกียรติคุณ

*ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกคนที่ผลงานผ่านรอบคัดเลือกจะได้รับรางวัลพิเศษเป็นสมาชิกวารสาร HOBBY ELECTRONICS ฟรี 1 ปี

รายละเอียดความเคลื่อนไหว ข้อมูลเพิ่มเติม การซักถามข้อสงสัย

กองบรรณาธิการ วารสาร HOBBY ELECTRONICS
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
อาคารเนชั่นทาวเวอร์ชั้นที่ 19
เลขที่ 46/87-90 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา
กรุงเทพฯ 10260
(จดหมายวงเล็บที่มุมซอง การประกวดสิ่งประดิษฐ์)

โทรศัพท์ 02-751-5800 ต่อ 3570-3572 โทรสาร 02-751-5460-1
อีเมล์ hobby@se-ed.com


สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2542-2545 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2002 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.