ขั้นตอนการเจาะ
เมื่อเราได้แผ่นกระดาษที่มีจุดตำแหน่งที่ต้องการเจาะแล้ว
ต่อไปจึงนำแผ่นกระดาษดังกล่าววางทาบบนด้านทองแดงของ แผ่นวงจรพิมพ์ใช้สก็อตเทปปิดทับตามขอบของกระดาษให้ยึดติดกับแผ่นวงจรพิมพ์
(ดูจากรูปที่ 4)

รูปที่ 4 แสดงการใช้สก็อตเทปปิดทับตามขอบของกระดาษลอกลาย
ให้แนบกับด้านทองแดงของแผ่นวงจรพิมพ์แล้วนำไปเจาะ
การเจาะจำเป็นต้องใช้สว่าน
หากใครมีสว่านไฟฟ้าขนาดเล็กก็เหมาะทีเดียว แต่ถ้าไม่มีใช้ชนิดมือหมุนก็ได้เหมือกันครับ
ระหว่างการเจาะรูก็หมั่นสังเกตต้นแบบด้วยว่า จุดไหนต้องเจาะรูใหญ่ จุดไหนต้องเจาะรูเล็ก
โดยมากถ้าเป็นรูสำหรับใส่ขาอุปกรณ์ ประเภททรานซิสเตอร์ , ไอซี , ตัวต้านทาน
ฯลฯ มักใช้ขนาด 0.7-1 มิลลิเมตร แต่หากเป็นรูสำหรับเชื่อมต่อกับสายไฟ หรืออุปกรณ์บางชนิด
ที่มีขาใหญ่ๆ ก็มักใช้ขนาด 1.5 - 2 มิลลิเมตร เช่น ขาของรีเลย์ , ตัวต้านทานเกือกม้า
, สวิตช์ ฯลฯ อันนี้ต้องสังเกตให้ดีนะครับ
เมื่อเราเจาะรูจนครบหมดทุกรูแล้ว
ต่อไปแกะสก็อตเทปที่เราติดไว้ ตามขอบของแผ่นวงจรพิมพ์ออก เพื่อทำความสะอาด
แผ่นวงจรพิมพ์เสียก่อน โดยใช้แผ่นใยสังเคราะห์ (แหม..ฟังดูไม่ค่อยคุ้นหูเลย
แต่หากบอกว่าสก็อตไบรต์ล่ะก็ จะรู้จักกันดี) ร่วมกับน้ำผงซักฟอก ขัดถูด้านทองแดง
หรือบางคนอาจใช้ยางลบดินสอนี่แหละครับ ขัดแบบแห้ง จนกระทั่งเป็นเงาวาว เสร็จแล้วล้างออกด้วยน้ำ
(ดูจากรูปที่ 5)

รูปที่ 5 ก แสดงการทำความสะอาดแผ่นวงจรพิมพ์ด้วยสก็อตไบร์ท

รูปที่ 5 ข แสดงการใช้ยางลบดินสอทำความสะอาดแผ่นวงจรพิมพ์
|