หน้าแรก
จากจุดเล็กไปหาจุดใหญ่
มัลติมิเตอร์
เครื่องมือ ที่ขาดไม่ได้
|
ถ้าการสร้างโครงงานทุกโครงงานทำให้เรามีความสุข
ความเพลิดเพลินตลอดทุกโครงงานเลยก็ดีสิ แต่เมื่อใดที่เกิดความทุกข์ ความเศร้า
ความหงุดหงิด ความ...ขึ้นมา เพราะว่าโครงงานชิ้นโปรดตัวดี ก็ไม่ยอมทำงานดังที่คาดหวังเอาไว้
แต่เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือโครงการยังมีไขควงและมิเตอร์ ฮ่า.....ฮ่า
ครับ !! อย่าเพิ่งไปประสาทเสียกับปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อประกอบโครงงานเสร็จแล้ว
จงทำใจให้สบาย ลุกขึ้นไปล้างหน้าล้างตาก่อน แล้วค่อยกลับมาจัดการกับมัน จากวิธีดังบทความต่อจากนี้ไป
มีที่มาก็ต้องมีที่ไป
ใช่ว่าการจะทำอะไรขึ้นมาสักอย่างแล้วจะราบรื่นไปเสียหมด
มันก็ต้องมีการสะดุดบ้าง ก่อนอื่นให้ปิดสวิตช์ทันที ที่มีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น
จากนั้นให้ใช้เครื่องมือที่ใกล้ตัวมากที่สุดช่วยในการแก้ปัญหาขั้นแรกก่อนนั้นก็คือ
ตา หู จมูก ของคุณนี่แหละทำการสังเกต สำรวจ ดู ว่าเครื่องมีปัญหาที่ส่วนใด
เช่น ตัวต้านทานตัวใดมีรอยไหม้ขึ้นมาก็ให้ดูตัวต้านทานตัวนั้น ใส่ค่าถูกหรือเปล่า
, ต่อไฟเลี้ยงวงจรผิดขั้วหรือไม่ เป็นต้น โดยสันนิษฐานว่าต้องมีอะไรผิดปกติสักอย่างในวงจรส่วนนี้แน่นอน
ถ้าไม่พบอะไรผิดปกติแต่เครื่องไม่ทำงานให้เช็คดูตามจุดต่าง
ๆ เหล่านี้ เช่น ที่ไฟเลี้ยงวงจรดูว่า แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงนั้นมีไฟหรือเปล่า
เพราะว่าบางทีใช้ไฟเลี้ยงจากถ่านไฟฉาย ซึ่งบางทีถ้ามองจากภายนอกอาจจะไม่รู้ว่ามีไฟพอ
หรือเปล่า อาจเป็นถ่านที่ใช้หมดแล้วก็ได้ ลองวัดไฟดูขณะต่อในวงจร หรือไม่ก็ลืมใส่ฟิวส์ที่กระปุกฟิวส์
(อย่าหัวเราะ !! เพราะมันอาจเกิดขึ้นกับคุณ)
บางครั้งอาจจะไม่พบจุดที่ผิดปกติขึ้นมาทันทีทันใด
แต่เครื่องก็ไม่ทำงาน มาถึงตอนนี้ให้วางเครื่องไว้ก่อน พร้อมหยิบวงจรและคู่มือของเครื่องนี้ขึ้นมาอ่าน
และทำความเข้าใจอย่างละเอียดว่าวงจรนั้นทำงานอย่างไร ภาคนั้นภาคนี้ทำงานอย่างไร
แล้วทำการสันนิษฐานว่า อาการที่เกิดขึ้นอย่างนั้นน่าจะเกิดที่ภาคอะไร แล้วก็เช็คที่ภาคนั้นไปเลย
ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาเช็คกันทั้งหมดทั้งวงจรเลย อาศัยการสันนิษฐานจากเหตุและผลที่น่าจะเป็นไปได้จริง
ตัวอย่างการแบ่งการทำงานของวงจรออกเป็นภาคๆ ในรูปของบล็อกไดอะแกรมหรือตารางแสดงการทำงานนั้น
แสดงให้ดูดังรูป
รูปที่ 1 ตัวอย่างรูปบล็อกไดอะแกรมของวิทยุทรานซิสเตอร์ขนาดเล็ก
|