กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
ใครว่า ! การสร้างโครงงานเป็นเรื่องยาก (ตอนที่ 2): ปิยตุลา อาภรณ์

ที่มา : วารสาร HOBBY ELECTRONICS ฉบับที่ 60 เดือน ธันวาคม 2535

หน้าแรก
จากจุดเล็กไปหาจุดใหญ่
มัลติมิเตอร์ เครื่องมือ ที่ขาดไม่ได้

มัลติมิเตอร์ เครื่องมือที่ขาดไม่ได้

นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่บรรดาช่างต่างๆ ก็นิยมใช้กันมากที่สุดแล้วประกอบกับราคาไม่โหดเกินไปนักที่ นักอิเล็กทรอนิกส์เราๆ ท่านๆ สามารถหามาไว้ในครอบครองได้ แถมใช้ง่ายและทนทานอีกต่างหาก

เทคนิคการใช้เครื่องมัลติมิเตอร์

ในการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจสอบหาจุดเสียต่างๆ ในวงจรนั้น จุดเริ่มต้นที่ควรจะตรวจสอบ อันดับแรกเลยก็คือ ไฟเลี้ยงวงจร ก่อนอื่นตรวจที่ภาคจ่ายไฟว่า มีไฟเลี้ยงออกมาตามที่ระบุหรือเปล่า จากนั้นให้ทำกาตรวจสอบดูไฟเลี้ยง ที่ขาของ IC ทุกตัว (ถ้ามี) ถ้าจุดใดไม่มีไฟเลี้ยงตามวงจรแสดงว่า ส่วนนั้นผิดปกติแน่นอน ข้อควรระวังในการตรวจแรงด้นนี้ ระวังปลายขั้วสายมิเตอร์ที่วัดแรงดันไปลัดวงจรขา IC เข้าด้วยกัน ซึ้งอาจจะทำให้การวัดผิดพลาด และ IC เสียหายได้ (อุปกรณ์อื่นๆ ก็เช่นกัน)
ต่อมาให้ตรวจแรงดันที่ขาต่างๆ ของทรานซิสเตอร์ในเครื่องเสียง ซึ่งถ้าทรานซิสเตอร์ปกติจะได้ว่า ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN นั้นแรงดันที่คอลเล็กเตอร์นั้น จะต้องเป็ฯบวกเมื่อเทียบกับขาอีมิตเตอร์ (ชนิด PNP จะได้เป็นลบ) ที่ขาเบสจะต้องมีแรงดันบวกประมาณ 0.6 โวลต์ เมื่อเทียบกับขาอีมิตเตอร์ (เป็นลบประมาณ 0.6 โวลต์ ในชนิด PNP)
แต่ถ้าทรานซิสเตอร์อยู่ในสภาวะปกติคัตออฟหรือไม่ทำงาน แรงดันที่ขาเบสจะต้องน้อยกว่า 0.6 โวลต์ เมื่อเทียบกับขาอีมิตเตอร์สำหรับชนิด NPN ขณะที่ขาคอลเล็กเตอร์จะมีสถานะเทียบเท่าแรงกันไฟบวก
เมื่อพบจุดผิดปกติที่จุดใด หรืออุปกรณ์ตัวใดให้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ทันที โดยการถอดออกมา แล้วใช้มัลติมิเตอร์ตรวจวัด
บางครั้งบางทีนั้น ในวงจรบางประเภทการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจสอบอาจจะยากลำบากอยู่สักหน่อย ซึ่งบางทีก็ต้องพึ่งเครื่องมือชนิดอื่นนั้น สามารถทำการตรวจสอบได้ง่ายกว่า เช่น ออสซิลโลสโคป แต่เครื่องมือชนิดนี้มีราคาแพงขึ้นตามการใช้งานไปด้วย ซึ่งออสซิลสโคปนี้สามารถตรวจสอบสัญญาณ เช่น สัญญาณเสียงสำหรับวงจรขยายเสียง , วัดระดับสัญญาณของแรงด้นได้ และที่สำคัญสามารถค้นหาจุดเสีย หรือตรวจสอบวงจรประเภทดิจิตอลได้สะดวก เพราะสามารถแสดงระดับของสัญญาณแต่ละประเภทออกมาได้ และสามารถหาความถี่ของสัญญาณต่างๆ ได้อีกด้วย ซึ่งมัลติมิเตอร์ไม่สามารถทำได้ในจุดนี้
เป็นไงครับ! กับหลักการเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ซึ่งช่วยให้การสร้างโครงงานนั้น ไม่เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างกับที่คิดเอาไว้ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ถ้าสามารถทะลวงผ่านจุดนี้ไปได้จุดหนึ่งแล้ว นั่นแสดงว่า คุณขยับเข้าสู่การเป็นนักอิเล็กทรอนิกส์ อีกขั้นหนึ่งแล้ว



รูปเครื่องมือวัดออสซิลโลสโคป


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.