กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
LDR ตัวต้านทานไวแสง : ธนาวุฒิ ไกรฤทธิกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 41

หน้าแรก
โครงสร้าง
สมบัติทางแสง
ผลตอบสนองทางไฟฟ้า
ทำเป็นเครื่องวัดแสง
สวิตซ์ทำงานด้วยแสง
ใช้ LDR ตลอดช่วง

โครงสร้าง

ตัว LDR ว่าที่จริงแล้วมีเรียกกันอีกหลายชื่อ เช่น โฟโต้คอนดักตีฟเซล ( photoconductive cell ) หรือ ตัวต้านทาน ไวแสง ( LSR - light sensitive resistor ) ส่วนใหญ่จะทำด้วยสารแคดเมียมซัลไฟด์ ( CdS ) หรือไม่ก็แคดเมียมซีนิไนด์ ( CdSe ) ซึ่งทั้งสองตัวนี้ก็เป็นสารประเภทกึ่งตัวนำ เอามาฉาบลงบนแผ่นเซรามิกที่ใช้เป็นฐานรองแล้วต่อขาจากสารที่ฉาบ ไว้ออกมา

รูปที่ 1 โครงสร้าง LDR

รูปร่างของมันจะเห็นได้ในรูปที่ 1 ส่วนที่ขดเป็นแนวเล็กๆสี ดำนั่นแหละ ที่ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานไวแสง และ แนวสีดำ นั้นจะแบ่งพื้นที่ของตัวมันออกเป็น 2 ข้าง ซึ่งถ้าดู ของจริงจะเห็นว่าออกสีทองนั้น เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ทำหน้าที่สัมผัส กับตัวต้านทานไวแสง เป็นที่สำหรับต่อขาออกมาภายนอก หรือ เรียกว่าอิเล็กโทรด ที่เหลือก็จะเป็นฐานเซรามิก และ อุปกรณ์ สำหรับห่อหุ้มมัน ซึ่งมีได้หลายแบบ


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.