เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับออปแอมป์
: สว่าง ประกายรุ้งทอง
|
|
หน้าแรก
|
เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับออปแอมป์ เราสามารถออกแบบวงจรที่ใช้ออปแอมป็ให้มีค่าสลูว์เรทสูงให้กระแสเอาท์พุทสูง หรือแรงดันสามารถสวิงขึ้นไปได้หลายร้อยโวลต์ ได้โดยการต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมเพียง เล็กน้อยเท่านั้น ประสิทธิภาพของออปแอมป์ธรรมดาอาจจะไม่พอเพียงต่อความต้องการ แต่เราสามารถจะเพิ่มประสิทธ์ภาพของออปแอมป์แบบมาตรฐานทั่วไปได้ โดยการต่อทรานซิสเตอร์เพิ่มเข้ามาในวงจรป้อนกลับจากเอาท์พุท เพื่อที่จะทำออปแอมป์แบบลูกผสม (Hybrid) ออปแอมป์แบบลูกผสมนี้สามารถออกแบบสร้าง ได้ง่ายและราคาไม่แพง ซึ่งจะให้คุณสมบัติต่าง ๆ ที่ดีที่หาไม่ได้จากการใช้ ออปแอมป์ตัวเดียวโดด ๆ ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างให้ดูดังต่อไปนี้ กระแสเอาท์พุทจากออปแอมป์เบอร์ที่ใช้ยกตัวอย่าง คือ เบอร์ 3140 นี้จะถูกจำกัดอยู่เพียงไม่กี่มิลลิแอมป์เท่านั้น แต่เราสามารถที่จะเพิ่มให้เป็นหลายแอมป์ได้ โดยการต่อร่วมกับทรานซิสเตอร์แบบคอลเลคเตอร์ร่วม และแรงดันเอาท์พุทของออปแอมป์เบอร์ 3140 แบบมาตรฐานจะอยู่ในช่วง 2 ถึง 3 โวลท์ และจะถูกจำกัดไม่ให้เกิน 32 โวลต์ และค่าสลูว์เรท (Slew rate) หรือค่าความเร็วในการเปลี่ยนแรงดันที่เอาท์พุทซึ่งออปแอมป์ยังคงรักษาคุณสมบัติเชิงเส้นไว้ได้ จะถูกจำกัดอยู่ประมาณ 9 โวลต์/ไมโคร วินาที แต่เมื่อเอาท์พุทของออปแอมป์เบอร์ 3140 ถูกต่อกับทรานซิสเตอร์แบบวงจรอีมิตเตอร์ร่วมจะทำให้เอาท์พุทสามารถสวิงเพิ่มได้เป็นหลายร้อยโวลต์เมื่อ ป้อนอินพุทเพียงไม่กี่สิบมิลลิโวลท์และยังสามารถมีค่าสลูว์เรทได้สูงถึง 100 โวลท์/ไมโครวินาที สำหรับตัววงจรออปแอมป์แบบลูกผสมที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เราจะใช้แบบไฟเลี้ยงชุดเดียว (บวกกับกราวนด์) และยึดออปแอมป์เบอร์ 3140 เป็นหลัก |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |