กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
พื้นฐานของทรานซิสเตอร์ : นายไอซี

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 68 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2528 - มกราคม พ.ศ. 2529

ทรานซิสเตอร์ สารกึ่งตัวนำสำคัญ
กราฟแสดงคุณสมบัติทางไฟฟ้า
ตัวอย่างการคำนวณในวงจร
การประยุกต์ทรานซิสเตอร์ ใช้งาน
ทรานซิสเตอร์ใน วงจรขยายสัญญาณ
แบบฝึกหัดทดสอบ



กราฟแสดงคุณสมบัติทางไฟฟ้า

จากรูปที่ 3 นำมาเขียนใหม่เป็นวงจรโดยแทนด้วยสัญลักษณ์ได้ดังรูปที่ 4 ลองดูทางด้าน ขา B และ E ก่อนจะเห็นว่าต่อ เข้ากับแบตเตอรี่ VB และตัวต้านทานปรับค่าได้ RB เนื่องจากโครงสร้างของขา B และ E มีลักษณะเหมือนไดโอดและต่อ VB เข้าในลักษณะไบแอสตรง จึงเกิดกระแสไหลทางขา B,E ชื่อว่า IBE (เรียกสั้น ๆ ว่า IB) ซึ่งสามารถนำมาเขียนเป็นกราฟแสดง ความสัมพันธ์ของ VBE และ IB ได้ดังรูปที่ 5 และมีลักษณะเหมือนกราฟของไดโอดด้วย นั่นคือถ้าหาก VBE มีค่ามากกว่า 0.65 โวลท์ จะเกิด IB ไหลได้ โดยมีการจำกัดกระแสด้วย RB ถ้า RB ปรับไว้ที่ค่าน้อย ๆ ก็จะมี IBไหลมาก

รูปที่ 3 แสดงการเกิดกระแสเมื่อมีการป้องแรงดันที่ขาต่าง ๆ

รูปที่ 4 วงจรที่เขียนขึ้นจากการต่อวงจรในรูปที่ 3

เมื่อมี IB ไหลแล้วผลที่ตามมาก็คือเกิด ICE (เรียกสั้น ๆว่า IC) ไหลด้วยและค่า IC สามารถหาได้จากกราฟในรูปที่ 6 ซึ่งเป็น กราฟที่สำคัญมาก เพราะเป็นกราฟที่แสดงการทำงานของทรานซิสเตอร์อย่างแท้จริง เริ่มต้นพิจารณาที่ IB สมมติว่าปรับ RB ให้ ได้ค่า IB เป็น 1 mA จะเกิดกระแส IC ขึ้นค่าหนึ่ง (สมมติเป็น 100 mA) เมื่อปรับ IB มากขึ้นเป็น 2 mA จะได้ IC เป็น 200 mA ทำนองเดียวกันเมื่อปรับเป็น 3,4,5 mA จะได้ ICE เป็น 300 , 400 , 500 mA ตามลำดับ ในส่วนนี้จะได้ว่า

ตัว เบต้า หรือเรียกอีกตัวหนึ่งว่า HFE คืออัตราขยายกระแสนั่นเอง จากตัวอย่างข้างบนนี้ จะได้ค่า เบต้า เท่ากับ 100 พอดี

เมื่อปรับ IB ให้มีค่ามากขึ้นไปอีกจะได้ค่า IC เพิ่มขึ้นไม่มากนักเนื่องจากทรานซิสเตอร์มีอัตราขยายกระแสที่กระแสสูง ๆ ได้น้อยลง จากตัวอย่างในรูปที่ 6 จะพบว่าเมื่อ IB มีค่าเป็น 6 mA จะได้ IC เป็น 580 mA และ IB เป็น 10 mA จะได้ IC เป็น 750 mA หรือค่า เบต้า = 75 เท่าและยิ่ง IB มีค่ามากนั้น จะได้ IC ไม่เพิ่มขึ้นเท่าไร เช่น IB = 20 mA อาจได้ IC เพียง 800 mA เท่านั้น

จากกราฟในรูปที่ 6 นำมาเขียนเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ของ IB ต่อ IC ได้ดังรูปที่ 7 ในช่วงที่ IB มีค่าน้อย ๆ จะได้ กราฟเป็นเส้นตรงหรือมีค่า เบต้าคงที่ และเมื่อ IB มีค่ามกขึ้นจะได้ IC เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย หรือค่า เบต้า น้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากทรานซิสเตอร์ เริ่มเกิดการอิ่มตัวแล้ว

รูปที่ 6 กราฟแสดงคุณสมบัติที่สำคัญของทรานซิสเตอร์ จากการต่อวงจรในรูปที่ 4

รูปที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่าง IB ที่มีผลต่อ IC ของทรานซิสเตอร์

กราฟที่นี่พิจารณาอีกกราฟหนึ่ง คือกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ของ VCE ต่อ IC เมื่อ IB มีค่า ๆ หนึ่ง ดังแสดงในรูปที่ 8 จะพบว่าเมื่อ VCE เปลี่ยนแลง (อันเนื่องมาจากปรับค่า VS หรือ CR )จาก 1 ถึง 20 กว่าโวลท์จะทำให้ IC เปลี่ยนแปลงไปเพียง เล็กน้อย เท่านั้น เช่น อาจเปลี่ยนแปลงเพียง 1-2 mA เท่านั้น นั่นหมายความว่าค่าของ ICไม่ได้ขึ้นอยู่กับVCE เท่าใดนัก แต่ขึ้น อยู่กับ IB

รูปที่ 8 ถึงแม้ว่า VCEจะมีค่าเปลี่ยนไปมาก แต่ก็ทำให้ ICเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สรุปการทำงานของทรานซิสเตอร์ได้ดังนี้

  • ทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ขยายกระแส โดยทางด้านขา B เป็นขาป้อนสัญญาณอินพุทและ ขา C เป็นขาสัญญาณเอาท์พุท อัตราการขยายคือ ค่า เบต้า มีค่าค่อนข้างคงที่ เมื่อกระแสที่ ขา B มีค่าไม่มากนัก และเบต้า จะมีค่าน้อยเมื่อกระแสที่ขา B มีค่ามาก ๆ
  • ทางด้านขา B และ E ซึ่งเป็นขาป้อนสัญญาณอินพุท มีคุณสมบัติเหมือนไดโอด คือเมื่อขา B,E มีแรงดันมากกว่า 0.65 โวลท์ จะเกิดกระแสที่ ขา B และทรานซิสเตอร์นำกระแสได้
  • ทางด้านขา C ซึ่งเป็นขาสัญญาณเอาท์พุท จะเกิดกระแสไหล ผ่านขา C ตามค่า กระแสที่ขา B และค่า เบต้าโดยมี สูตร IC=เบต้า IB แรงดันทีขา C,E หาได้จาก

VCE = VS - VCR

VCE = VS - IC RC

VCE = VS - เบต้าIBRC

  • ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN และ PNP มีหลักการทำงานเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่สลับขั้วแบตเตอรี่ที่ป้อนเข้าเท่านั้น

สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.