ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออปแอมป์

รูปที่ 1 แสดงการทำงานและวงจรสมมูลย์ของออปแอมป์
ออปแอมป์มีสัญลักษณ์และสัญญาณเข้าออก
ตามที่แสดงในรูปที่ 1 ความสัมพันธ์ของสัญญาณเข้าและออก แสดงด้วยสูตรง่าย
ๆ คือ
 
Av
เป็นอัตราการขยายแรงดันซึ่งมีค่าสูงมาก จึงเป็นคุณสมบัติที่พิเศษสุดของออปแอมป์
ออปแอมป์แบบอุดมคติ จะมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขดังนี้
1.
อัตราการขยายแรงดัน สูงมากจนเป็นอนันต์
2.
ความต้านทานทางอินพุต สูงมากจนเป็นอนันต์
3.
ความต้านทานทางเอาท์พุท ต่ำมากจนเป็นศูนย์
4.
แรงดันออฟเซททางอินพุทเป็นศูนย์
5.
กระแสออฟเซททางอินพุทเป็นศูนย์
6.
ลักษณะสมบัติเชิงความถี่ ขยายได้ดีตั้งแต่ไฟตรง จนความถี่สูงมากเป็นอนันต์
7.
ไม่มีข้อบกพร่องอื่น ๆ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ออปแอมป์ก็ไม่ได้มีคุณสมบัติอย่างในอุดมคติเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ
สำหรับผู้เริ่มต้น ในช่วงแรกให้ถือว่า ออปแอมป์ที่ใช้ศึกษากันต่อไปนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับอุดมคติมาก
การใช้ออปแอมป์ที่เป็นอุดมคติในการออกแบบวงจรนั้น
เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมาก หลังจากออกแบบเสร็จแล้ว จึงค่อยมาพิจารณาเงื่อนไข
หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ไม่เป็นอุดมคติ แล้วค่อยแก้ไขและปรับปรุงวงจรให้ดีขึ้นอีกทีหนึ่ง
ต่อไปเราลองมาดูว่าออปแอมป์ในความเป็นจริงแตกต่างจากออปแอมป์อุดมคติอย่างไร
|