กระแสออฟเซททางอินพุท
ตามปกติกระแสไบแอสที่ไหลเข้าขั้วบวกและลบของออปแอมป์จะไม่เท่ากันทีเดียวนัก
ความแตกต่างของกระแสทั้งสองนี้ เรียกว่ากระแสออฟเซททางอินพุทของออปแอมป์
ยกตัวอย่างเช่น กระแสไบแอสที่ไหลเข้าทางขั้วบวกเป็น 110 microA และที่ขั้วลบเป็น
90 microA เราจะเขียนว่ากระแสไบแอสเท่ากับ 100 microA และกระแสออฟเซททางอินพุทเท่ากับ
20 microA เป็นต้น

รูปที่ 15 แสดงผลของกระแสออฟเซ็ท
รูปที่
15 จะแสดงให้เห็นว่ากระแสออฟเซทนี้ จะทำให้เกิดแรงดันออฟเซทขึ้นที่ขั้วเอาท์พุทได้โดยยังไม่คิดผลของกระแสไบแอส
การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแรงดันออฟเซทเนื่อง มาจากกระแสออฟเซทนี้ สามารถทำได้โดยการลดขนาดของค่าความต้านทานในวงจรลง
อันจะเป็นผลทำให้แรงดันตกคร่อมมีขนาดเล็กลง
ออปแอมป์ที่ใช้งานทั่วไป
จะมีขนาดของกระแสออฟเซทมากน้อยตามขนาดของกระแสไบแอส แต่ถ้าเป็นออปแอมป์คุณภาพดี
จะมีกระแสออฟเซทน้อยเป็นไม่กี่สิบเท่า ของกระแสไบแอสยิ่งถ้าเป็นออปแอมป์ชนิดที่อินพุทเป็นเฟ็ท
จะมีกระแสไบแอสน้อยมาก ทำให้กระแสออฟเซทยิ่งน้อยลงไปใหญ่ จนไม่จำเป็นต้องคำนึงถึง
และถ้าใช้ออปแอมป์ชนิดนี้ ในงานความถี่สูง ควรต่อขั้วบวกของออปแอมป์ลงกราวนด์โดยตรง
เพื่อให้ผลตอบสนองเชิงความถี่ดีขึ้น
แต่จุดอ่อนของออปแอมป์ชนิดที่อินพุทเป็นเฟ็ท
จะอยู่ที่คุณสมบัติเปลี่ยนตามอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ลองดูจากคู่มือของออปแอมป์
ชนิดที่มีอินพุทเป็นเฟ็ทนั้น แล้วเปรียบเทียบค่ากระแสไบแอสและกระแสออฟเซททางอินพุท
ที่อุณหภูมิ 20 องศา และ 70 องศา
จะเห็นว่าแตกต่างกันมาก บางตัวที่ 70 องศา จะมีกระแสไบแอสมากกว่า
ออปแอมป์ชนิดอินพุทเป็นทรานซิสเตอร์เสียอีก
ลองดูตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของออปแอมป์ในตารางที่
1 จะเห็นว่ากระแสไบแอสและกระแสออฟเซท จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามอุณหภูมิการเพิ่มนี้จะมากถึง
ขนาดหลายร้อยหลายพันเท่า และเป็นเงื่อนไขเดียวที่ทำให้กระแสเพิ่มขึ้นมากที่สุดในบรรดาคุณสมบัติอื่น
ๆ
ฉะนั้นจึงควรทดสอบวงจรที่ต้องการอินพุทพีแดนซ์สูง
ๆ และทดสอบที่อุณหภูมิสูงด้วย แล้วทำการวัดผลของกระแสไบแอสนี้ จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจในการใช้งานได้
สำหรับคุณสมบัติทางด้านอื่นจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิเช่นกัน แต่จะไม่มากเท่ากับกระแสไบแอสนี้
|