กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
การเลือกใช้ตัวต้านทาน : สว่าง ประกายรุ้ง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 78 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2530

หน้าแรก
ตัวต้านทานแบบคาร์บอน
ตัวต้านทานแบบฟิล์ม
ตัวต้านทานแบบลวดพัน
ตัวต้านทานแบบอื่น ๆ






การเลือกใช้ตัวต้านทาน

ตัวต้านทาน… ฟังดูก็เป็นเรื่องหมูๆ ถูกต้องครับ เพียงแต่เลือกค่าโอห์ม และ อัตราทนกำลังงาน ให้ตรงตามวงจรเท่านั้น. ง่ายจริงๆ เพราะเขากำหนดมาให้เรียบร้อยแล้ว. ถ้าหากคุณจำเป็นต้องเลือกใช้ตัวต้านทานเองล่ะ จะมีวิธีการเลือกใช้อย่างไร… บทความนี้จะเสนอรายละเอียด และ องค์ประกอบต่างๆที่มีผลต่อตัวต้านทาน เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกใช้ตัวต้านทานให้ เหมาะสมกับงานของคุณ

ในปัจจุบันมีการผลิตตัวต้านทานออกมามากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันไป ซึ่งทำให้ ตัวต้านทานชนิดนั้น เหมาะกับงานหนึ่งๆมากกว่าตัวต้านทานชนิดอื่น. การเลือกตัวต้านทานให้เหมาะสม กับงานที่ต้องการเป็น สิ่งสำคัญ ดังนั้นเมื่อจะเลือกใช้ตัวต้านทานจึงต้องพิจารณาถึงเสถียรภาพสัญญาณรบกวน อัตราการกระจายกำลังงาน ( power dissipation ) สภาพแวดล้อมความต้องการทางด้านไฟสลับ และ ค่าความต้านทาน สำหรับค่าของความต้องการที่แท้จริง ขึ้นอยู่กับความคลาดเคลื่อน ( tolerance ) สัมประสิทธิ์ทางแรงดันสัมประสิทธิ์ ทางอุณหภูมิ และ การเปลี่ยนค่า ( drift ) เมื่อ เวลาเปลี่ยนไป ส่วนอัตราการทนกำลังนั้นขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแวดล้อม และ การลดค่า ( derating ) ( การลดค่านั้นเป็นการทำงาน ของอุปกรณ์ ซึ่งตำกว่า 100% ของอัตราที่กำหนดไว้เนื่องจากสภาพของสิ่งแวดล้อม )

ตัวต้านทานแบบหลายตัวภายในโครงสร้างเดียวกัน ซึ่งมีความเที่ยงตรงสูง

ตัวต้านทานแบบค่าคงที่และ แบบปรับค่าได้ ประกอบด้วยแบบ คาร์บอน , ฟิล์ม , ลวดพัน , เซอร์เมต ( cermat ) และ พลาสติกที่นำไฟฟ้า ในรูปที่ 1 แสดงถึง ตัวต้านทานชนิดต่างๆ และ ต่อไปจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของ ตัวต้านทานที่ใช้กัน ทั่วๆ ไป

รูปที่ 1 ตัวต้านทานชนิดคาร์บอน , ฟิล์ม , ลวดพัน, เชอร์เมต และพลาสติกตัวนำ


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.