ตัวต้านทานแบบลวดพัน
ตัวต้านทานแบบลวดพัน
( Wire wound resistors ) นิยมใช้ในงานที่ต้องการการกระจายกำลังงานสูง และ
ที่ซึ่ง คุณ สมบัติ ทางด้านไฟสลับไม่ ค่อยสำคัญนัก. ตัวต้านทานชนิดนี้โดยทั่วไปจะใช้
กับความถี่สูงถึง 20 กิโลเฮิรตซ์. สารที่ใช้เคลือบ ผิว เพื่อเป็นฉนวน และ
ป้องกันความชื้นนั้นอาจจะเป็นน้ำยาเคลือบ ซีเมนต์ ฟีนอลลิกอัด ปลอกแก้ว หรือ
ซิลิโคน
แบบที่ใช้น้ำยาเคลือบนี้
จะมีคุณสมบัติในการต้านทานความชื้นได้อย่างดีเยี่ยม และ จะไม่ไหม้ ( อาจจะละลายได้
) ภายใต้ สภาวะใช้งานเกินขนาดสูงๆ เนื่องจากน้ำยาเคลือบนี้ทำจากสารจำพวกแก้ว
ส่วนแบบที่ใช้ ซิลิ โคนนั้น จะมีคุณสมบัติในการต้าน ทานความชื้นได้อย่างดีเยี่ยมเช่นกัน
แต่เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์จึงติดไฟได้ง่าย ให้ก๊าซออกมารบกวน และ ทิ้งคราบไว้บนหน้า
สัมผัสทางไฟฟ้าภายใต้สภาวะใช้งานเกินขนาดเพียงเล็กน้อย แบบที่เคลือบด้วยซีเมนต์นั้น
ประกอบด้วยสารอนินทรีย์ . สาร ที่เคลือบชนิดนี้ถึงแม้จะไม่ติดไฟก็ตาม แต่ก็สามารถที่จะไหม
้ได้ถ้าให้ทำงานอยู่ภายใต้สภาวะใช้งานเกินขนาดสูงๆ เป็นระยะเวลา นาน ตัวต้านทานที่เคลือบด้วย
ซีเมนต์นี้ ค่าของมันสามารถที่จะเปลี่ยนไปได้ถ้านำไปใช้ในที่มีความชื้น.
สำหรับแบบที่มีฝาครอบ เป็นอลูมิเนียม หรือ มีน้ำหล่อเย็นก็มีการผลิตออกจำหน่าย
โดยฝาครอบแบบนี้ จะสามารถส่งผ่านความร้อนออกจากสาร ที่ใช้ทำตัวต้านทานได้เป็นอย่างดี
ตัวต้านทานแบบลวดพันนี้
โดยปกติชิ้นส่วนความต้านทานจะทำจากโลหะผสมสามชนิด ซึ่งประกอบด้วยนิกเกิล-โครเมียม
ทองแดง - นิกเกิล และ ทอง - แพลทินัม โลหะผสมนิกเกิล - โครเมียม นิยมใช้กันมากที่สุดเนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์
ต่ออุณหภูมิที่ดี เยี่ยมของมัน ( น้อยกว่า บวกลบ
5
PPM / องศาเซลเซียส และ สามารถทำให้มีขนาดเส้นผ่าศูนษ์กลาง ต่างกันได้หลายๆ
ขนาด ส่วนทองแดง - นิกเกิลนั้นก็ นิยมใช้รองลงมา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ ต่ออุณหภูมิ
บวกลบ20 PPM / องศาเซลเซียส.
ส่วนทอง แพลตตินั่มนั้น ที่จริงแล้วเป็นโลหะผสมที่ประกอบด้วยธาตุ หลายตัวผสมกับทอง
รวมทั้ง แพลตตินั่ม และ เงินจำนวนเล็กน้อย ซึ่งมี ค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิบวกลบ
650 PPM / องศาเซลเซียสมีค่า
ความต้านทานต่ำโดยมีค่าความต้านทานเท่ากับ 85 โอห์ม / เซอร์คูล่ามิลฟุต (
เซอร์คูล่ามิลฟุต เป็นปริมาณในทางทฤษฏี มีค่าเท่ากับลวดที่เส้นผ่าศูนษ์กลาง
0.001 นิ้ว ยาว 1 ฟุต ) ในขณะที่ นิกเกิล - โครเมียม มีค่าความต้านทาน 800
โอห์ม / เซอร์คูล่ามิลฟุต. ทอง - แพลทินัมนี้สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
ได้ดี.

รูปที่ 2 แกนที่ทำจากสตีไทต์ซึ่งใช้กับตัวต้านทานแบบลวดพัน
แกนเซรามิกของตัวต้านทานแบบลวดพันนี้
อาจจะเป็นเบริลเลียมออกไซด์ ซึ่งมีความสามารถในการระบายความร้อน ได้สูง หรือ
อะลูมินา ( อะลูมิเนียมออกไซด์ ) หรือ สตีไทต์ ซึ่งมีค่าการนำความร้อนต่ำที่สุดในบรรดาสารทั้งสามชนิดนี้
แต่มีราคาถูกใน รูปที่ 2 ได้แสดงตัวอย่างของแกนที่ทำจากสตีไทต์ ตัวต้านทานแบบลวดพันนี้
นิยมใช้กันมากที่สุด ในวงจรแบ่งแรงดัน เช่นเป็นตัว ต้านทานในภาคจ่ายไฟ หรือ
เป็นตัวต้านทานจำกัดแรงดัน. ส่วนแบบที่ปรับค่าได้นั้น จะใช้ในที่คาดว่าแรงดัน
และกระแสจะเปลี่ยน แปรไป เช่น การควบคุมความเร็วมอเตอร์ และ เครื่องทำความร้อน
ส่วนแบบปรับค่าได้อย่างเที่ยงตรงนั้น จะใช้ในระบบเซอร์โว ที่ต้องการคุณสมบัติที่เที่ยงตรงในทางไฟฟ้า
และ กลศาสตร์
|