กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
การเลือกใช้ตัวต้านทาน : สว่าง ประกายรุ้ง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 78 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2530

หน้าแรก
ตัวต้านทานแบบคาร์บอน
ตัวต้านทานแบบฟิล์ม
ตัวต้านทานแบบลวดพัน
ตัวต้านทานแบบอื่น ๆ



ตัวต้านทานแบบอื่นๆ

สำหรับงานที่ต้องการค่าความต้านทานต่ำๆ หรือ ใช้กับกระแสสูงๆ. ตัวต้านทานแบบพันแถบข้าง ( edge - wound ribbon type ) ได้รับการออกแบบมาสำหรับทนกำลังงานได้ถึง 1,000 วัตต์ ( ที่ กระแสสูงถึง 100 แอมป์ ) ตัวต้านทานชนิดนี้ ทำจากการนำเอาแถบเหล็กกล้าพันให้อยู่ในรูปคอล์ย และ รองรับโดยฉนวนที่ ทำจากเซรามิก โดยทั่วไปแล้วจะทำงานโดยมี อุณหภูมิสูงถึง 375 องศาเซนติเกรด. นิยมใช้ในการทดสอบแหล่งจ่ายไฟ และ ในระบบหยุดมอเตอร์

ตัวต้านทานแบบเซอร์เมต ทำมาจากการรวมผงเซรามิก หรือ แก้วกับโลหะ มี ค่า เช่น ทอง เงิน ทองคำขาว. ตัวต้านทาน ชนิดนี้มีเสถียำภาพดีมากภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีความชื้น และ มีค่าสัมประสิทธิ์ ต่ออุณหภูมิต่ำเท่ากับ บวกลบ 100 PPM / องศาเซลเซียล โปเทนชิโอมิเตอร์ แบบที่ใช้พลาสติกเป็นตัวนำ หรือ ทำจากผงคาร์บอนอัดขึ้นรูปขณะร้อน จะมีค่าสัมประสิทธิ์ต่อ อุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ บวกลบ 1000 PPM / องศาเซลเซียลในตัวต้านทานแบบปรับค่าได้นั้น. เรื่องจากชิ้นส่วนเป็นเซอร์เมตนั้นมี ความคม และ การหมุนปรับค่าความต้านทานบ่อยๆ จะทำให้แกนที่หมุน แตะชิ้นส่วนที่เป็นความต้านทานสึกหรอ เร็วกว่าแกนที่ หมุนแตะในแบบฟิล์มตัวต้านทาน หรือ มรแบบพลาสติกที่นำไฟฟ้า โปเทนวิโอมิเตอร์แบบเซอร์เมตนั้น ผลิตออกมาโดยที่มีค่า ความต้านทานต่ำ ซึ่งมีประโยชน์ในงานเกี่ยวกับ เครื่องเสียง เซอร์เมต. นอกจากนี้ยังทำเป็นแบบฟิล์มหนาที่ทำเป็นตัวต้านทานหลาย ๆ ตัวในโครงสร้างเดียวกัน และ แบบชิพ

ส่วนโปเทนชิโอมิเตอร์แบบที่ใช้พลาสติกเป็นตัวนำนี้ จะประกอบด้วยส่วนผสมของเรซิน ( อีพ๊อกซี่ , โพลีเอสเตอร์ ,ฟีนอลลิก หรือ โพลีอะไมด์ ) และ ผงคาร์บอน แล้วจึงฉาบลงบนพลาสติก หรือ ฐานที่เป็นเซรา มิก ฐานที่เป็นพลาสติกนั้น ให้ผลในด้านค่าสัม ประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิดีกว่า. เนื่องจากการเข้ากันได้ดีกว่าระหว่างหมึก และ ตัวฐาน. ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีอายุงานในการหมุนนาน และ การแปรเปลี่ยนค่าความต้านทานของหน้าสัมผัสที่ดีเยี่ยม หรือ ให้ค่าสัญญาณรบกวนต่ำ. ความต้านทานด้านปลายทั้งสองมีค่า ต่ำ. ค่าสูงสุดเพียง 2 โอห์ม เท่านั้น

ตัวต้านทานแบบที่ใช้พลาสติกเป็นตัวนำนั้น เหมาะสำหรับใช้งานซึ่งต้องการค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิ ที่ไม่เปลี่ยน แปลง ตลอดย่านอุณหภูมิที่จำกัด เช่น - 25 องศาเซลเซียล ถึง 75 องศาเซลเซียล ค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิเท่ากับ - 200 PPM / องศาเซลเซียล นั้น. สามารถทำได้โดยขบวนการพิเศษในการเตรียมสารคาร์บอน หรือ โดยการรวมผงโลหะ หรือ เกล็ดของโลหะ เข้าไปในส่วนผสมด้วย. ส่วนนิกเกิล เงิน และ ทองแดงนั้น นิยมใช้ผสมในตัวต้านทานที่มีค่าต่ำๆ. ตัวต้านทานแบบพลาสติกที่นำ ไฟฟ้านั้นก็คล้ายๆกับตัวต้านื่ทานแบบคาร์บอน นั้นคือ ค่าจะเปลี่ยนไปเมื่อถูกนำ ไปใช้ในที่มีความชื้น. ในรูปที่ 3 ได้แสดงให้เห็น ถึงตัวต้านทานแบบเซอร์เมต แบบคาร์บอน และ แบบพลาสติกที่นำไฟฟ้า

รูปที่ 3 วัสดุที่ใช้ทำตัวต้านทานในโปแทนชิโอมิเตอร์เรียงจากซ้านไปขา เซอร์เมต คาร์บอน และพลาสติกตัวนำ

สำหรับโปเทนชิโอมิเตอร์แบบไฮบริดนั้น เป็นตัวต้านทานแบบลวดพันโดยมีพลาสติกที่นำไฟฟ้า ฉาบตลอดระยะทางของ หน้าสำผัสของสารที่ใช้ทำตัวต้านทาน ซึ่งมีผลทำให้ตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าความละเอียดดีกว่า และ ยังมีอายุนานกว่าด้วย ประมาณ 10 เท่า ของแบบลวดพัน เมื่อเปรียบเทียบกับตัวต้านทาน แบบที่ใช้พลาสติก ที่นำไฟฟ้าแล้ว. ตัวต้านทานแบบไฮบริด นี้จะมีความสามารถในการรับค่ากำลังงานที่สูงกว่าเนื่องจากลวดที่พัน อยู่ซึ่งก็คล้ายกับแบบลวดพัน อย่างไรก็ตาม ตัวต้านทานชนิด นี้ จะมีค่าความจุไฟฟ้าหลงเหลือที่ ความถี่ที่สูงกว่า และ มีค่าความต้านทานของหน้าสัมผัสสูงกว่า. โดยมีความเรียบของ ขอบ สัญญาณเอาต์พุต เมื่อดึงกระแสผ่านหน้า สัมผัสที่หมุนแตะชิ้นส่วนที่เป็นความต้านทาน

ตัวต้านทานแบบโปแทนชิโอมิเตอร์

ในตารางที่1 ได้รวบรวมตัวต้านทานชนิดต่างๆ ที่มีขายกันในท้องตลาด โดยจะกล่าวถึงคุณสมบัติต่างๆ ที่เหมาะสมกับ ตัวต้านทานชนิดนั้นๆ และ ตัวประกอบการลดค่า ( derating factor ) การใช้ตัวประกอบการลดค่านั้น เป็นประโยชน์สำหรับ ลดอัตราการผิดพลาดในการทำงานของอุปกรณ์ลง. ทั้งนี้เนื่องจากอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ เป็นหลัก อัตราการลดค่า นั้นสามารถบรรลุผลสำเร็จได้โดยการลดส่วนที่กดดันอยู่ เช่น กำลังงาน แรงดัน กระแส หรือ โดยการเลือกชิ้นส่วนที่มีอัตราการ ทำงานที่สูงขึ้น. อัตราการลดค่าที่เหมาะสมจะอยู่ที่จุดเท่ากับ หรือ ต่ำกว่า. จุดซึ่งการเพิ่มขึ้นของค่าความเค้น หรือ อุณหภูมิที่ ทำงานมีผลทำให้อัตราการผิดพลาดของการทำงานมีค่าสูงขึ

ค่า และ อัตราการทำงานที่แสดงในตารางที่ 1 นั้น เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับตัวต้านทาน ส่วนใหญ่ ที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้. และ เป็นไปไม่ ได้ที่จะพบตัวต้านทานซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างเล็กน้อย หรือ อย่างมากกับค่าใน ตารางนี้. คุณจะพบว่าตัวต้านทานทั้งหลายที่มีขายอยู่ในท้องตลาดเวลานี้มีอยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน และ ในการเลือกใช้งานก็มีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณากันหลายข้อ. หลังจากทำความเข้าใจถึงคุณสมบัติของตัวต้านทานแต่ละชนิด แล้วต่อไปคุณก็คงเข้าใจวิธีเลือกใช้ตัวต้านทาน ให้เหมาะกับงานของคุณนะครับ

ตารางที่ 1แนวทางในการเลือกใช้ตัวต้านทาน

คลิกเพื่อขยาย คลิกเพื่อขยาย

คลิกเพื่อขยาย คลิกเพื่อขยาย


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.