แบบของหน้าสัมผัส
 ในสเปกของรีเลย์
บริษัทผู้ผลิตจะบอกสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ใช้เอาไว้ เช่น ค่าแรงดันใช้งาน ค่ากำลังไฟฟ้าที่ต้องการ
ค่ากระแส และ ค่าความต้านทาน เป็นต้น. นอกจากนี้ สิ่งที่จะลืมเสียไม่ได้
ก็คือ แบบของหน้าสัมผัส หรือ คอนแทค . ผู้ผลิตรีเลย์เขาจะบอกมาว่า หน้าสัมผัสของรีเลย์ตัวนี้เป็นแบบใด
และ มีจำนวนกี่ชุด. ถ้าเขาบอกมาโดยการเขียนเป็นตัวเต็มมาก็คงไม่มีปัญหาแต่ถ้าหากเขาบอก
มาเป็นตัวย่อ เราจะมีวิธีสังเกตอย่างไร.
การที่จะทราบว่า
หน้าสัมผัสของรีเลย์เป็นแบบใดนั้น ทางสมาคมผู้ผลิตรีเลย์ หรือ National Association
of relay Manufacturers ( NARM ) ได้นำแบบของหน้าสัมผัสมารวมไว้เป็นตาราง
พร้อมทั้งให้ชื่อไว้ด้วยว่า ชื่อของตัวอักษรตัวใดจะตรงกับหน้าสัมผัสแบบใด.
ในที่นี้จะไม่นำตารางนั้นมาลงละครับ. ผมเพียงอยากยกตัวอย่างของหน้าสัมผัสแบบที่ใช้กันบ่อยๆ
สัก 2 - 3 แบบ เพื่อมาประกอบคำอธิบายการทำงานของหรีดรีเลย์ ซึ่งจะกล่าวภายหลัง.
สมมติว่าผู้ผลิตเขียนมาในสเปกว่ารีเลย์ตัวนั้นเป็นแบบ
A ( Form A ) ก็หมายถึงหน้าสัมผัสของรีเลย์ตัวนั้น ในสภาพปกติจะเปิดอยู่
( Normally open ) และ หน้าสัมผัสเป็นแบบ SPST ถ้าจะเขียนเป็นสัญลักษณ์ ก็คือ

เมื่อเวลาทำงานหน้าสัมผัสถึงจะต่อกันหน้าสัมผัสในแบบ
A นี้ เราจะเรียกว่า " Make " ก็ได้
ถ้าเป็นหน้าสัมผัสแบบ
B ( Form B ) หมายถึง หน้าสัมผัสของรีเลย์ในสภาพปกติจะปิด ( Normally closed
) และเป็นแบบ SPST เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ คือ

หน้าสัมผัสแบบนี้
เวลาทำงานหน้าสัมผัสจะแยกออกจากกัน หน้าสัมผัสแบบ B นี้ เรียกว่า " bread
" ก็ได้
หน้าสัมผัสแบบ
C ( Form C ) แบบนี้เรียกว่า " break , make หรือ transfer เป็นหน้าสัมผัสแบบ
SPDT เขียนสัญลักษณ์ได้ ดังนี้

หน้าสัมผัสในแบบ
C จะมีอยู่ด้วยกัน 3 อัน. ในขณะที่ รีเลย์ยังไม่ทำงาน หน้าสัมผัส 1 และ 2
จะต่อกันอยู่ เมื่อรีเลย์ทำงานหน้าสัมผัส 1 และ หน้าสัมผัส 2 จะแยกกัน. เมื่อแยกกันแล้ว
หน้าสัมผัส 1 จะมาต่อกับหน้าสัมผัส 3 แทน. พอรีเลย์หยุดทำงานหน้าสัมผัส 1
กับ 2 ก็จะต่อกันตามเดิม.
สำหรับจำนวนชุดของหน้าสัมผัสนั้นจะบอกเป็นตัวเลข
และ เขียนไว้หน้าตัวอักษรที่แสดงแบบของหน้าสัมผัส เช่น 1A , 1B , 2B , 2A.
1A
หมายถึง หน้าสัมผัสเป็นแบบ A และ มีจำนวนหน้าสัมผัส 1 ชุด

1B
หมายถึง หน้าสัมผัสเป็นแบบ B และ มีจำนวนหน้าสัมผัส 1 ชุด

2A
หมายถึง หน้าสัมผัสเป็นแบบ A มีจำนวนหน้าสัมผัส 2 ชุด เมื่อรีเลย์ทำงานหน้าสัมผัสทั้งสอง
ก็จะทำงานพร้อมกัน.

หน้าสัมผัสของรีเลย์ตัวเดียวอาจจะมีจำนวนเป็นสิบๆ
ชุด. เท่าที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้น เป็นเพียงตัวอย่าง ที่ต้องการให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงวิธีสังเกตุแบบของหน้าสัมผัส
และ จำนวนของหน้าสัมผัสซึ่งมักใช้กันบ่อยๆ.
|