หรีดรีเลย์
: พันธ์ศักดิ์
อาภาขจร
|
|
หน้าแรก
|
หรีดรีเลย์แบบอื่น ๆ หรีดรีเลย์นั้นคุณได้ทราบมาแล้วว่า ประกอบด้วยหลอดแก้วบรรจุหรีด และขดลวด หลอดจะสวมอยู่ในขดลวดอีกที่หนึ่ง ขดลวด 1 ชุด ไม่จำเป็นต้องมีหลอดแก้วบรรจุหรีดเพียงหลอดเดียว. อาจจะมีจำนวนหลายๆ หลอดก็ได้. จากรูปที่ 9 จะเห็นว่าภายในขดลวด 1 ชุด ประกอบด้วยหลอดแก้วบรรจุหรีดถึง 4 หลอดด้วยกัน. หรีดรีเลย์ในรูปนี้มีหน้าสัมผัสอยู่ 2 แบบ คือ แบบ A และ แบบ B . หรีด 3 ชุดบนเป็นหน้าสัมผัสแบบ A อันล่างสุดเป็นหน้าสัมผัสแบบ B . หรีดรีเลย์ตัวนี้จึงเขียนสัญลักษณ์เป็น 3A - 1B . หน้าสัมผัสแบบ B ที่อยู่ล่างสุดนั้นต่อกันได้โดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กถาวรที่วางไว้ใต้หลอดแก้ว แม่เหล็กถาวรดังกล่าว ผู้ออกแบบจะพยายามไม่ ให้มีผลกระทบต่อการทำงานของหรีดอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง. หรีดที่อยู่ล่างสุดจึงได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็กของเม่เหล็กถาวรเพียงอันเดียว. รูปที่ 9 หรีดรีเลย์ หน้าสัมผัสแบบ 3A-1B รูปที่ 10 เป็นหรีดรีเลย์อีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยหรีด 2 ชุด มีหน้าสัมผัสแบบ A และ แบบ B ต่อกันได้ด้วยแม่เหล็กถาวร ที่วางไว้ส่วนบน หน้าสัมผัสแบบ A อยู่ข้างล่าง เมื่อรีเลย์ทำงานหน้าสัมผัสแบบ B จะ " เปิด " และ หน้าสัมผัสแบบ A จะ " ปิด " ทั้งแบบ A และ แบบ B ต่างก็มีหน้าสัมผัส 1 ชุด จึงเขียนสัญลักษณ์เป็น 1A - 1B. รูปที่ 10 หรีดรีเลย์ หน้าสัมผัสแบบ 1A-1B ภายในขดลวด 1 ชุด จะสามารถใส่ " Pole " ไว้ได้หลายๆ อันดังได้กล่าวมาแล้ว ( คำว่า " Pole " ในที่นี้ หมายถึง แต่ละคู่ของหน้าสัมผัสที่อยู่ในหลอดแก้วของตัวเอง ) การที่ใส่ " Pole " หลายๆ อันไว้ในขดลวดเพียงชุดเดียว อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ กล่าวคือ เนื่องจาก Pole มีหลายอันจึงเป็นการยาก ที่จะทำให้หรีดทุกอันภายในขดลวดนั้นทำงานพร้อมกันได้ เพราะสนามแม่เหล็กที่เกิดจากขดลวดจะไม่เท่ากัน โดยตลอด. สนามแม่ เหล็กจะแรงที่สุดที่ขอบนอกสุดของขดลวด. ผลของสนามแม่เหล็กจะทำให้หรีดที่อยู่ริม ทำงานก่อนหรีดที่อยู่ตรงกลาง ผู้ผลิตรี เลย์พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาข้อนี้ โดยจะเอาหรีดที่มีความไวกว่าใส่ไว้ตรงกลาง ( สนามแม่เหล็กอ่อนที่สุด ) และเอาหรีดที่มีความไวน้อยกว่าไว้ริม ( สนามแม่เหล็กแรงที่สุด ) ซึ่งก็พอจะแก้ไขปัญหาได้ . แม้ว่าหรีดรีเลย์จะถูกสร้างขึ้นมานานแต่การใช้งานของมันยังคงเป็นไปอย่างกว้างขวาง และ ได้รับการพัฒนาอยู่ เสมอ . วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆ ไป เป็นจำนวนไม่น้อยที่มีหรีดรีเลย์เข้าไปเกี่ยวข้อง วงจรบางวงจรในเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงานก็ใช้หรีดรีเลย์ช่วย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ระบบครอสบาร์ ( crossbar ) หรือ โทรศัพท์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม จะประกอบด้วยหรีดรีเลย์เป็นจำนวนมากนอกเหนือไปจากรีเลย์แบบธรรมดา และ อุปกรณ์ประเภทโซลิดสเตทอื่นๆ. หรีด รีเลย์มีข้อได้เปรียบอยู่อย่างหนึ่ง คือ ความเล็ก . ด้วยเหตุนี้บริษัทผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือ ประเภทที่แสดงเวลาเป็นตัวเลข หรือ รู้กันโดยทั่วไปว่า นาฬิกาคอมพิวเตอร์ . บางบริษัท จึงนำอาหรีดเข้าไปใส่ไว้ในตัวเรือนนาฬิกา เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยแสดงเวลา ( display ) การใช้งานของหรีดในนาฬิกาประเภทนี้ ไม่ใช้สนามแม่เหล็กจากขดลวดไปทำงานแต่จะใช้แม่เหล็กถาวรแท่งเล็ก ๆ ช่วย เช่น ถ้าจะให้หรีดต่อกันก็เลื่อนแท่งแม่เหล็กออกให้ห่าง จะเห็นว่าการทำงานของหรีดขึ้นอยู่ กับการเคลื่อนที่ของแท่งแม่เหล็ก ดังนั้นหรีดประเภทนี้จึงเรียกว่า หรีดสวิตซ์ ( Reed Switch ) นอกจากนี้หรีดรีเลย์ ถูกนำไปใช้เป็นสเต็ปปิ้งสวิตซ์ ( Stepping Switch ) หรือ แซมปลิ้งสวิตซ์ ( Sampling Switch ) ของระบบคอนเวอร์เตอร์ ที่เปลี่ยนระบบจากอะนาล็อก ให้เป็นดิจิตอล ( analog to digital converter system ) อีกด้วย. การใช้งานของหรีดรีเลย์ที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ยังมีอีกมากมายนัก เชื่อแน่ว่าในอนาคตหากยังไม่มีอุปกรณ์อันใดที่มีคุณสมบัติ และ ความสามารถเท่าเทียมกับหรีดรีเลย์ หรือ เหนือกว่าหรีดรีเลย์ แล้ว. หรีดรีเลย์จะยังคงเป็นอุปกรณ์ที่มีความหมายต่อการใช้งานไปอีกนานทีเดียว. |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |