กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
หรีดรีเลย์ : พันธ์ศักดิ์ อาภาขจร

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 35

หน้าแรก
แบบของหน้าสัมผัส
การทำงานของหรีดรีเลย์
หรีดรีเลย์แบบอื่น ๆ

การทำงานของหรีดรีเลย์

เรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะ และ ส่วนประกอบที่จะทำให้เป็นรูปเป็นร่างของหรีดรีเลย์ขึ้นมาได้นั้น. คุณผู้อ่านก็คงพอจะทราบแล้วนะครับ พอมาถึงตอนนี้ เราจะเริ่มการทำงานของหรีดรีเลย์กันเลย ขอให้ดู รูปที่ 4 พร้อมทั้งคำอธิบายประกอบ

รูปที่ 4 แสดงการทำงานของหรีดรีเลย์หน้าสัมผัสแบบ A

จากรูปที่ 4 เป็นหรีดรีเลย์แบบ A คือ ขณะยังไม่ทำงานหน้าสัมผัสยังไม่ต่อกัน ในรูป 4 ก. เป็นรีเลย์ในสภาพปกติ ยังไม่มีกระแสผ่านขอลวดซึ่งอยู่รอบๆ หลอดแก้ว ( ในที่นี้ไม่แสดงขอลวดให้เห็น ) หรีดทั้งสอง ที่อยู่ในหลอดแก้ว มีความยาวเท่ากัน และ จะเคลื่อนตัวได้เมื่อเกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้น. พอจ่ายกระแสผ่านขดลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และ มี ขั้วต่างกัน ดังในรูปที่ 4 ข. สนามแม่เหล็กเมื่อมีค่ามากพอหรีดทั้งสองก็จะต่อกัน. ดังรูปที่ 4 ค. เมื่อหยุดจ่ายกระแสให้ขดลวดสนามแม่เหล็ก ก็จะลดลงจนถึงจุดที่ไม่สามารถจะเอาชนะแรงสปริงของหรีดได้. หรีดก็จะแยกออกจากกันกลับสู่สภาพเดิม ดังในรูปที่ 4 ก. อีกครั้ง.

ในรูปที่ 5 เป็นหรีดรีเลย์ซึ่งมีหน้าสัมผัสเป็น แบบ B หรือ Break หน้าสัมผัสในสภาพปกติจะต่อกันอยู่จะสังเกตุ ได้ว่า หรีดรีเลย์ในรูปนี้มีความยาวของหรีดไม่เท่ากัน. หรีดที่อยู่ส่วนบนจะสั้นกว่า หรีด อันล่าง ขณะที่รีเลย์ทำงาน จะมีหรีดเพียงอันเดียวเท่านั้นที่เคลื่อนที่ คือ หรีด อันล่างส่วนหรีดอันบนนั้น จะถูกตรึงอยู่กับที่.

รูปที่ 5 หรีดรีเลย์หน้าสัมผัสแบบ B

หรีดทั้งสองต่อกันได้ด้วยแรงบังคับทางกลไก ดังนั้น จึงอาจจะเรียกรีเลย์แบบนี้ว่า " machanically biased " หลักการทำงานของหรีดรีเลย์แบบนี้ก็เช่นเดียวกับหรีดรีเลย์หน้าสัมผัสแบบ A ต่างกันก็ตรงที่ว่า หรีด รีเลย์ แบบ B นี้ เมื่อจ่ายกระแสผ่านขดลวดจะทำให้หน้าสัมผัสอันล่างแยกออกจากหน้าสัมผัสอันบน. พอหยุดจ่ายกระแสหน้าสัมผัสก็จะกลับมาต่อกันอีก.

รูปที่ 6 เป็นหรีดรีเลย์แบบ C เป็นแบบ Bread make หรือ transfer. หรีดรีเลย์แบบ C มีหน้าสัมผัสอยู่ 3 อัน. สองอันบนมีความยาวเท่ากัน อันล่างยาวทีสุด และ จะเป็นตัวเคลื่อนที่ระหว่างหรีดสองอันข้างบนอยู่กับที่.

รูปที่ 6 หรีดรีเลย์หน้าสัมผัสแบบ C

รูปที่ 6 ก. รีเลย์ยังไม่ทำงาน หน้าสัมผัส 1 และ 2 จะต่อกันอยู่โดยการบังคับทางกลไก. เมื่อจ่ายกระแสผ่านขดลวด ทำให้หรีดทั้ง 3 อัน กลายเป็นแม่เหล็ก. หรีดอันบนทั้งสองจะมีขั้วเหมือนกัน ส่วนหรีดอันล่างจะมีขั้วต่างกับสองอันข้างบน ( ดูรูป 6 ข. ) เมื่อสนามแม่เหล็กมีค่ามากพอ หรีด 1 จะไปต่อกับหรีด 3.

คุณอาจจะสงสัยว่า หรีด 2 กับหรีด 3 นั้น. ต่างก็มีความยาวเท่ากัน มีขั้วแม่เหล็กเหมือนกัน มิหนำซ้ำ หรีด 2 กับหรีด 1 ก็ต่อกันอยู่แล้วขณะที่เกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้น หรีด 1 กับหรีด 2 น่าจะต่อกันได้แน่นยิ่งขึ้นแต่เหตุไฉนหรีด 1 จึงเคลื่อนไปต่อกับหรีด 3 ได้. การที่หรีด 1 ไปต่อกับหรีด 3 ได้ เนื่องจากโครงสร้างของหรีด 2 และ หรีด 3 ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ หรีด 2 นั้น เฉพาะที่ผิวของหรีดจะติดไว้ด้วยสารที่ไม่เป็นแม่เหล็ก ดังนั้น หรีด 3 จึงมีผลตอบสนองต่อสนามแม่เหล็กได้ดีกว่าหรีด 2 แม้ว่า หรีด 2 กับหรีด 1 จะมีแรงบังคับให้ต่อกันอยู่ก็ตาม พอหยุดจ่ายกระแสผ่านขอลวดหรีด 1 ก็จะกลับไปต่อหรีด 2 ตามเดิม.

รูปที่ 7 เป็นหรีดรีเลย์ที่มีหน้าสัมผัสเป็นแบบ C เช่นเดียวกับในรูปที่ 6 แต่หรีด 1 กับ หรีด 2 ถูกบังคับให้ต่อกัน โดยอาศัยอำนาจของแม่เหล็กถาวรซึ่งติดอยู่ตอนกลางของหรีด 2 . หรีดรีเลย์แบบนี้เป็นแบบ " magnetically biased " คือ อาศัยอำนาจแม่เหล็กถาวรบังคับให้หรีดต่อกันขณะที่รีเลย์ยังไม่ทำงาน หรีดจะอยู่ในสภาพดังรูปที่ 7 ก. สนามแม่เหล็กอันเกิดจากการจ่ายกระแสผ่านขอลวดจะทำให้หรีด 1 ไปต่อกับหรีด 3 ดังในรูปที่ 7 ข.

รูปที่ 7 หรีดรีเลย์หน้าสัมผัสแบบบ C ใช้แม่เหล็กถาวร

การทำงานให้หรีดต่อกันโดยใช้แม่เหล็กถาวรช่วย หรือ ที่เรียกว่า magnetically bias นอกจากจะใช้กับหรีดรีเลย์ที่มีหน้าสัมผัสแบบ C แล้ว ยังใช้ได้กับหน้าสัมผัสแบบ B ด้วย ดังในรูปที่ 8.

แม่เหล็กถาวรซึ่งวางแนบอยู่ทางด้านข้างของหลอดแก้ว ต่อกันดังรูปที่ 8 ก. เมื่อมีสนามแม่เหล็กของหรีดเปลี่ยนไป ในทิศทางตรงกันข้าม. สนามแม่เหล็กจากขดลวดจะทำให้หรีดที่ต่อกันอยู่แยกออกดังรูปที่ 8 ข. พอหยุดจ่ายกระแสให้ขดลวดแม่เหล็กถาวร ก็จะมีอำนาจดึงดูดทำให้หรีดต่อกันอีก.

รูปที่ 8 หรีดรีเลย์หน้าสัมผัสแบบ B ใช้แม่เหล็กถาวร


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.