กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
ตัวต้านทาน : จักรกฤษณ์ นพคุณ

ที่มา : วารสาร HOBBY ELECTRONICS ฉบับที่ 40 เดือน สิงหาคม 2537

หน้าแรก
กำลังไฟฟ้า
การรวมตัวต้านทาน
ตัวต้านทานปรับค่าได้
การคำนวณกำลังไฟฟ้า ของตัวต้านทาน
การใช้งานตัวต้านทาน ในแบบอื่น

ตัวต้านทานปรับค่าได้

คลิกเพื่อดูรูปขยาย
รูปที่ 7 ตัวต้านทานปรับค่าได้
    ก. แบบ 1 ชั้น
    ข. แบบ 2 ชั้นหรือแบบสเตอริโอ
    ค. แบบสไลด์
    ง. แบบทริมเมอร์
    จ. แบบเกือกม้า 
คลิกเพื่อดูรูปขยาย
รูปที่ 8 ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบหลายรอบ (multiturn) แบบหมุนได้ 10 รอบ 100 โอห์ม ถึง 100k โอห์ม  

คลิกเพื่อดูรูปขยาย
รูปที่ 9 ตัวต้านทานปรับค่าได้ แบบทริมเมอร์ (Trimmer Potentiometer)

ส่วนในตัวต้านทานปรับค่าได้จะมีอยู่หลายประเภท เช่น แบบหมุน ซึ่งมีทั้งแบบธรรมดาที่หมุนได้รอบเดียวที่ใช้กันทั่วไป และแบบ พิเศษที่หมุนได้หลายรอบ (Trimmer Potentiometer) และแบบสไลด์ ซึ่งมีรูปร่างและโครงสร้างของบางแบบ ดังใน รูปที่ 7, 8, 9 เพราะว่า เมื่อมีกระแส ICไหลผ่าน R4 ไปยังขา C ของ Q1 จะเกิดแรงดันตกคร่อม R4 ทำให้แรงดันจากแบตเตอรี่ไปยังขา C ลดลง จะคงเหลือ 4.7 โวลต์ที่นี้เราจะรู้ค่า R4 ได้อย่างไร จากกฎของโอห์ม

R = E / I = VR4 / I

โดย E คือ แรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทาน R4 เราจะรู้ได้โดยถ้าเราต้องการให้แรงดันที่จุด 2 เท่ากับ 4.7 โวลต์ เพราะฉะนั้นแรงดันที่ตก R4 (VR4)

VR4 = 9 - 4.7 = 4.3 โวลต์

แล้วค่ากระแส (I) ล่ะ ในที่นี้เราจะมีค่าสมมติให้

I = IC = 1 มิลลิแอมป์ (mA)
= 0.001 แอมป์

เพราะฉะนั้นเราจะคำนวณ R4 ได้
R = VR4 / I = 4.3 / 0.001
= 4,300 โอห์ม = 4.3 กิโลโอห์ม

R1, R2 จะทำหน้าที่เป็นตัวจัดแรงดัน เพื่อให้ทรานซิสเตอร์ทำงานในสภาวะที่เหมาะสม

และถ้าคุณใช้มิเตอร์วัดแรงดันที่ตกคร่อม R4 (VR4) ได้ คุณก็สามารถคำนวณกระแส IC ได้เช่นกัน เพราะกระแสที่ไหลผ่าน R4 มีค่า เท่ากับ IC โดยใช้กฎโอห์ม
I = E / R


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.