การใช้งานตัวต้านทานในแบบอื่น
รูปที่ 10 ตัวอย่างวงจรที่มีการใช้งานตัวต้านทาน (วงจรปรีไมค์)
รูปที่ 11 การใช้งานตัวต้านทานในงานต่างๆ
ในรูป 11 ก. เป็นการนำตัวต้านทานค่า 50 โอห์ม มาต่อเข้ากับเครื่องส่งวิทยุ เพื่อใช้เป็นโหลดเทียม (Dummy Load) หรือ สายอากาศเทียม (Dummy Anterna) เหตุที่ต้องใช้ตัวต้านทานที่มีค่า 50 โอห์ม ก็เพื่อให้เหมาะสมกับความต้านทานเอาท์พุตของเครื่อง ส่งซึ่งตามปกติจะมีค่า 50 โอห์ม แล้วเราจะใส่ตัวต้านทานแทนสายอากาศไปทำไม ? ทำไมไม่ใช้สายอากาศไปเลย ที่ใช้ตัวต้านทานก็ เพราะป้องกันไม่ให้สัญญาณจากเครื่องส่งของเราไปรบกวนวิทยุคนอื่น
จากรูป 11 ข. แสดงวงที่ใช้ตัวต้านทาน 3 ตัว ต่อเป็นวงจรลดทอนกำลัง วงจรลดทอนกำลังสามารถออกแบบให้ลดทอนกำลัง ได้ตามต้องการ เช่น วงจรรูป 10 ข. วงจรจะทำหน้าที่ลดทอนสัญญาณที่เข้ามาที่อินพุตขนาดของสัญญาณที่ได้ที่เอาต์พุตจะขึ้นอยู่ กับการออกแบบค่าตัวต้านทาน R1, R2, R3 ยกตัวอย่างเช่น มีเครื่องส่งเครื่องหนึ่ง เครื่องส่งเครื่องนี้มีกำลังส่งไม่มากนัก เนื่องจากขนาดสัญญาณเอาต์พุตของวงจรขับมีขนาดสูง เราสามารถประยุกต์เอาวงจรลดทอนกำลังมาต่อระหว่างเอาต์พุตวงรจรขับ กับอินพุตวงจรเครื่องส่ง เพื่อลดทอนขนาดของสัญญาณให้พอเหมาะกับอินพุตเครื่องส่ง ในบางครั้งตัวต้านทานอาจใช้ตามรูป 11 ค
สมมติว่าเราต้องการทำวงจรที่ต้องใช้รีเลย์ แต่เราซื้อรีเลย์มาผิดขนาด เช่น ในรูปเรามีรีเลย์ 6 โวลต์ แต่จริงๆ ต้องรีเลย์ 28 โวลต์ เราก็ดัดแปลงรีเลย์ 6 โวลต์ของเราให้สามารถใช้ได้กับไฟ 28 โวลต์เราต่อดังรูป 11 ง. โดยเราหา R1 โดยต้องใช้มิเตอร์วัด ความต้านทานของขดลวดในรีเลย์ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยสมมติว่า เราวัดความต้านทานของรีเลย์ 100 โอห์ม เราก็หาค่ากระแส ในวงจร
I = E / R = 6 /100 = 0.06 แอมป์
VR1 = 28 - 6 = 22V
R1 = (VR1)/ I = 22 / 0.06 = 366.67 โอห์ม
รูปที่ 11 จ. เป็นการใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ เพื่อใช้ปรับแรงดันให้เปลี่ยนแปลง 0 - 12 โวลต์
รูปที่ 11 ฉ. เราใช้ตัวต้านทานเป็นตัวป้องกันไม่ให้กระแสไฟลดลงอย่างฉับพลัยเมื่อเราปิดแหล่งจ่ายไฟและยังป้องกันกระแส ที่จะ ออกมาจากแหล่งจ่ายไฟในกรณีที่ปิดเครื่องไปแล้ว
หวังว่าผู้อ่านคงเข้าใจพื้นฐานว่า ตัวต้านทานคืออะไร และจำเป็นอย่างไรสำหรับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ |