การเลือกตัวเก็บประจุให้เหมาะกับงาน
: สว่าง ประกายรุ้งทอง
|
|
หน้าแรก
|
ตัวเก็บประจุแบบไมก้า ตัวเก็บประจุชนิดนี้มี 2 แบบ คือ แบบแรกเป็นฟอล์ย ( foil ) ซึ่งประกอบด้วยชั้นของแผ่นโลหะวางสลับกัน ( หรือ เป้นแผ่น ฟิลม์ของโลหะบางๆ ) กับชั้นของไมก้า สำหรับชั้นของแผ่นโลหะนั้นจะต่อเข้าด้วยกันด้วยแถบของแผ่นดีบุก - ตะกั่ว โดยขั้วต่อจะ ยึดติดกันโดยการใช้บัดกรีเคลือบทับรอยย้ำ . แบบที่สองเป็นตัวเก็บประจุแบบซิลเวอร์ - ไมก้า ( silver - mica capacitor ) ประกอบด้วยแผ่นอิเล็กโตรดซึ่งทำจาก โลหะเงิน ฉาบลงบนแผ่นไมก้าที่ปั้มออกมาเป็นแผ่น ซึ่งจะประกอบออกมาเป็นตัวเช่นเดียวกับวิธีการของแบบแรก . ตัวเก็บประจุ แบบ ซิลเวอร์ - ไมก้านี้ มีความอ่อนไหวมากจากการที่อิออนของโลหะเงินหนีหายไปซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 2 - 3 ชั่วโมง. เมื่อนำไป ใช้ในที่มรงดันไฟกระแสตรงสูงเกินไป. ในที่มีความชื้นสูง และ อุณหภูมิสูง การหนีหายไปของโลหะเงิน จะเป็นผลให้ตัวเก็บ ประจุเกิดลัดวงจรขึ้น รูปที่ 9 แสดงตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตรีนขนาดเล็ก ค่าความจุ 47 pF ค่าความคลาดเคลื่อน 10% โดยมีอัตราการทนแรงดันใช้งานเท่ากับ 160 โวลต์ไฟตรง มีขนาดยาว 8 มิลลิเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร เพื่อที่จะรักษาค่าความเหนี่ยวนำภายในให้มีค่าน้อยเมื่อใช้งานที่มีความถี่สูง จึงได้ผลิดตัวเก็บประจุแบบซิลเวอร์ไมก้านี้ ออกมาในรูปแบบกระดุม ซึ่งขั้วต่อขั้วบวกจะต่อผ่านกึ่งกลางของแผ่นไมก้า อีกขั้วหนึ่งถูกสร้างขึ้นโดยตัวถังซึ่งต่อเข้ากับ ทุกจุด รอบ ๆ ขอบนอกของขั้วต่อ. การออกแบบวิธีนี้จะทำให้กระแสไหลในรูปแบบ 360 แงศา จากจุดต่อกึ่งกลาง ซึ่งทำให้เกิดืางเดิน ของกระแสที่ความถี่สูงมีระยะสั้นที่สุดจากขั้วต่อกึ่งกลางถึงตัวถัง รูปที่ 10 แสดงตัวเก็บประจุแบบโพลีคาร์บอเนตขนาดเล็ก ซึ่งมีขาต่ออยู่ ในแนวขนานกัน ทำให้เหมาะสำหรับติดตั้งบนแผ่นวงจรพิมพ์ ไมก้าชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการผลิตตัวเก็บประจุแบบ ไมก้านี้ เรีบยกว่า มัาโคไวท์ไมก้า ( muscovite mica ) ซึ่งได้ มา จากประเทศอินเดีย. สารชนิดนี้จะมีค่าคงที่ของไดอิเล็กตริก ระหว่าง 6.5 ถึง 8.5 และ สามารถแยกออกเป็นแผ่นบางๆ ได้ มีคุณ สมบัติที่ไม่มีรูพรุน จึงไม่มีการดูดซึมความชื้นไว้ ตัวเก็บประจุแบบไมก้านี้ จะมีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิ และ ความถี่ดี มีค่าตัวประกอบการสูญเสียต่ำ และ สามารถทำงาน ได้ดีที่ความถี่สูง จะถูกนำมาใช้ในงานหลายอย่าง เช่น ในวงจะจูนวงจรออสซิสเตอร์ วงจรกรองสัญญาณ และวงจรขยาย ความ ถี่วิทยุกำลังสูง จะไม่มีการผลิตตัวเก็บประจุแบบไมก้าค่าความจุสูงๆ ออกมา เนื่องจากไมก้ามีราคาแพง จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการ ผลิตสูงเกินไป |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |