ตัวเก็บประจุแบบทริมเมอร์
ตัวเก็บประจุแบบทริมเมอร์
สามารถแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ชนิด คือ แบบหลายรอบ(multitum) แบบรอบเดียว
(single turn) และแบบกดอัด (compression type) ตัวเก็บประจุแบบหลายรอบ ประกอบด้วย
ไดอิเล็กตริกที่เป็นแก้ว ควอตซ์แซฟไฟร์ พลาสติก หรืออากาศ ในขณะที่แบบรอบเดียวใช้เซรามิก
พลาสติก หรืออากาศเป็นไดอิเล็กตริกส่วนแบบกดอัด จะใช้ไมก้าเป็นไดอิเล็กตริก

รูปที่ 15 แสดงถึงตัวเก็บประจุไมล่าร์ฟิล์ม
ซึ่งมีค่าความจุจาก 0.0001 uF ถึง 0.22 uF ค่าความคลาดเคลื่อน บวกลบ 10%
มีอัตราการทนแรงดัน 100 โวลต์ดีซี
 สำหรับตัวเก็บประจุชนิดที่ใช้แก้วควอตซ์หรืออากาศเป็นไดอิเล็กตริกแนะนำให้ใช้วงจรที่ต้องการการสูญเสียต่ำ
มีค่าตัว ประกอบคุณภาพสูง มีเสถียรภาพ และความไวในการจูน แบบที่ใช้แก้วและแบบที่ใช้ควอตซ์เป็นไดอิเล็กตริกนั้นจะใช้ที่ความถี่ได้
สูงถึง 300 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนแบบที่ใช้อากาศเป็นไดอิเล็กตริกสามารถใช้ได้ถึงความถี่ประมาณ
1 กิกะเฮิรตซ์ สำหรับที่ความถี่ 1 กิกะเฮิรตซ์ขึ้นไป แบบที่ใช้เซฟไฟร์เป็นไดอิเล็กตริกจะให้คุณสมบัติที่ดีที่สุด

รูปที่ 16 แสดงถึงรหัสแถบสีซึ่งใช้บอกค่าต่าง
ๆ ของตัวเก็บประจุแบบโพลีเอสเตอร์บางชนิดซึ่งไม่ได้บอกค่ามาโดยตรง แต่บอกมาในรูปของรหัสแถบสีซึ่งคล้าย
ๆ กับที่ใช้ในการอ่านรหัสแถบสีของตัวต้านทาน
แบบที่ใช้เซรามิกและพลาสติกและพลาสติกเป็นไดอิเล็กตริกนั้นจะมีราคาถูกกว่าสำหรับไดอิเล็กตริกที่เป็นพลาสติกชั้นดีจะ
สามารถใช้ได้ที่ความถี่สูงถึง 2 กิกะเฮิรตซ์
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้
เราจะเห็นว่ามีการสร้างตัวเก็บประจุขึ้นมาหลายชนิด เพื่อให้เหมาะกับงานแต่ละอย่าง
และตัวเก็บ ประจุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน หลังจากที่เรารู้คุณสมบัติของตัวเก็บประจุแต่ละชนิดแล้ว
ครั้งต่อไปเมื่อคุณต้องการ เลือกตัวเก็บประจุ ก็พิจารณาเลือกใช้ชนิดที่เหมาะกับงานของคุณนะครับ
|