กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
การเลือกตัวเก็บประจุให้เหมาะกับงาน : สว่าง ประกายรุ้งทอง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 68 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2528 - เดือน มกราคม พ.ศ. 2529

หน้าแรก
ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก
ตัวเก็บประจุแบบไมก้า
ตัวเก็บระจุแบบแก้ว
ตัวเก็บประจุแบบเปเปอร์และ แบบพลาสติก
ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม
ตัวเก็บประจุแบบ อะลูมินั่มอิเล็กทรอไลติก
ตัวเก็บประจุแบบทริมเมอร์
สรุปแนวทางในการเลือกใช้ ตัวเก็บประจุ



ตัวเก็บประจุแบบเปเปอร์ และ แบบพลาสติก

ตัวเก็บประจุแบบเปเปอร์ และ แบบพลาสติกนั้น นำไปใช้งานซึ่งต้องการค่าความต้านทานของฉนวนที่มี ค่าสูง และ มี เสถียนภาพต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีค่าความต้านทานของฉนวนที่มีค่าสูง และ มีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีค่าความจุที่ดีใน ย่านอุณหภูมิที่กว้าง ( ยกเว้นแบบเมตัลไลซ์เปเปอร์ ซึ่งมีค่าความต้านทานของฉนวนต่ำ และ เสี่ยงต่อการทะลุของไดอิเล็กตริก ) ตัวเก็บประจุแบบพลาสติกนี้มีผลเนื่องจากความชื้นน้อยกว่าแบบ เปเปอร์ . เนื่องจากคุณสมบัติที่ไม่ดูดความชื้น ตัวเก็บประจุ แบบพลาสติก เช่น ชนิดโพลีคาร์บอเนต และ โพลี เอสเตอร์ ( ไมล่าร์ ) เหมาะที่จะใช้งานซึ่งต้องการการเปลี่ยนแปลงของค่า ความจุเนื่องมาจากอุณหภูมิน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับวงจรจูน และ วงจรตั้งเวลาที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง

รูปที่ 11 แสดงโครงสร้างภายในของตัวเก็บประจุแบบโพลีคาร์บอเนต ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างแบบหลายชั้นโดยมีแผ่นฟิล์มของไดอิเล็กตริกที่ทำจากโพลีคาร์บอเนตคั่นอยู่ระหว่าง แผ่นตัวนำแต่ละคู่ ตัวเก็บประจุแบบนี้มีค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิเท่ากับ 65 PPM/c

รูปที่ 12 แสดงถึงตัวเก็บประจุแบบโพลีคาร์บอเนต ซึ่งถูกผ่าออกเป็น 2 ซีก แสดงให้เห็นถึงชั้นของฉนวนและตัวนำบาง ๆ หลายชั้น ซึ่งใช้ในการผลิตตัวเก็บประจุแบบนี้

ในตัวเก็บประจุแบบ เมตังไลซ์แผ่นฟิล์มบางๆ ของโลหะถูกเคลือบโยตรงบนไดอิเล็กตริกที่เป็นเปเปอร์ หรือ พลาสติกทำ ให้ตัวเก็บประจุ แบบนี้มีคุณสมบัติ " สมานตัวเอง " ( self healing ) ซึ่งเรียกว่า " การทำให้บริสุทธิ์ " ( clearing ) ถ้าเกิด มีรู ขึ้น หรือ มีสิ่งแปลกปลอมในสารไดอิเล็กตริก จะเกิดการทะลุ และ ลัดวงจรขึ้น ทำให้กระแส จำนวนมากไหลผ่านในบริเวณ ที่มีสารแปลกปลอมนั้น ในตัวเก็บประจุแบบเมตัลไลซ์นั้น กระแสจำนวนมากที่ไหล ผ่านจะหลอมละลายส่วนเล็กๆ ของแผ่นฟิล์ม โลหะบางๆ ออกไป ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นไม่มี แผ่นฟิล์มโลหะอยู่ ทำให้ตัวเก็บประจุนั้นใช้การได้ดังเดิม. ในระหว่างขบวนการ ผลิตนั้น ตัวเก็บประจุแบบนี้จะถูกทำให้บริสุทธิ์ โดยการนำไป ป้อนด้วยแรงดันสูงมาก เพื่อที่จะให้แน่ใจได้ว่าค่าแรงดันที่ทำให้เกิด การทะลุได้ถูกกระทำให้เกิดขึ้นจริงๆ และ ตัวเก็บประจุจะถูกบังคับให้เกิดการสมานตัวเองนี้ที่สูงกว่าที่ใช้งานธรรมดา ทำให้ได้ อุปกรณ์ที่มีความไว้วางใจได้ ขบวนการสมานตัวเองแสดงได้ดังรูปที่ 13

รูปที่ 13 แสดงถึงวิธีการสมานตัวเองของตัวเก็บประจุซึ่งเกิดขึ้นมาหลังจากเกิดการทะลุทางไฟฟ้าเกิดขึ้น ซึ่งตัวเก็บประจุนี้ยังสามารถทำหน้าที่ได้ต่อไปอีก

ตัวเก็บประจุแบบเมตัลไลซ์นี้เหมาะที่สุดสำหรับวงจทางด้านอะนาลอก เนื่องจากกระแสที่เกิดขึ้นในขบวนการทำให้ บริสุทธิ์ อาจจะมีผลทำให้เกิดสัญญาณแปลกปลอม ซึ่งจะไปกระตุ้น ให้เกิดการทำงานผิดพลาด ในวงจรด้านดิจิตอลได้. ตัวเก็บประจุแบบ เมตัลไลซ์ทำงานได้ดีในภาคกรองสัญญาณ เอาต์พุดของแหล่งจ่ายไฟแบบสวิตชิ่งเนื่องมาจากมีค่า ความต้านทานอนุกรมสมมูลย์ ค่อนข้างต่ำ และมีคุณสมบัติที่เสถียรต่ออุณหภูมิ. เมื่อเลือกตัวเก็บประจุชนิดนี้มาใช้งาน จะต้องแน่ใจว่าเลือกค่าแรงดันของตัวเก็บ ประจุเพียงพอที่จะทนแรงดันสูงๆ ในระยะเวลาสั้นๆ ( surge ) ซึ่งผลิตขึ้นโดยวงจรที่นำไปใช้งาน


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.