กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
การเลือกตัวเก็บประจุให้เหมาะกับงาน : สว่าง ประกายรุ้งทอง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 68 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2528 - เดือน มกราคม พ.ศ. 2529

หน้าแรก
ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก
ตัวเก็บประจุแบบไมก้า
ตัวเก็บระจุแบบแก้ว
ตัวเก็บประจุแบบเปเปอร์และ แบบพลาสติก
ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม
ตัวเก็บประจุแบบ อะลูมินั่มอิเล็กทรอไลติก
ตัวเก็บประจุแบบทริมเมอร์
สรุปแนวทางในการเลือกใช้ ตัวเก็บประจุ



ตัวเก็บประจุแบบอะลูมินั่มอิเล็กทรอ ไลติก

ตัวเก็บประจุแบบอะลูมินั่มอิเล็กทรอไลติก โดยปกติแล้วจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบแทนทาลั่มและมีราคาถูกกว่า ปัญหาหนึ่ง ของตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มก็คือจะมีการเปลี่ยนแปลงค่าความจุเมื่อเวลาผ่านไประยะเวลาหนึ่ง อันเนื่องมาจากขั้วอิเล็กทรอไลต์ เป็นอะลูมินั่มออกไซด์ จะทำปฏิกิริยาเคมีรวมตัวกับอิเล็กโตรด ซึ่งด้วยเหตุนี้ค่าความจุ จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 10 % ของอัตรา ที่ระบุมา ตัวเก็บประจุแบบนี้จะมีอายุการเก็บไว้เฉย ๆ จำกัด เนื่องมาจาก การเสื่อมลงของชั้นฟิล์มของออกไซด์ และจะต้องมีการ "ก่อรูปขึ้นใหม่" (re-formed) หลังจากเก็บไว้เป็นระยะ เวลานาน การก่อรูปขึ้นใหม่ทำได้โดยการป้อนแรงดันให้แก่ตัวเก็บประจุ ขนานเท่ากับอัตราการทนแรงดันสูงสุดของ ตัวเก็บประจุ ตัวนั้นเป็นเวลา 30 นาที การก่อรูปขึ้นใหม่จะยังเป็นการป้องกันการทะลุ ของไดอิเล็กตริก หรือการลัดวงจรนอกจากนี้ ค่าตัวประกอบการสูญเสียของตัวเก็บประจุแบบนี้จะเพิ่มขึ้นได้ถึง 50 %

เพื่อที่จะป้องกันการระเหยแห้งของสารอิเล็กทรอไลต์ ตลอดจนปัญหาเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์ตัวเก็บประจุ แบบนี้จะ มีการผนึกตรงปลายด้วยอีพ็อกซี่ อย่างไรก็ตามเมื่อไม่มีรูระบายอากาศตัวเก็บประจุอาจจะระเบิดได้ ถ้าป้อนแรงดันกลับขั้ว หรือ แรงดันเกินให้แก่มัน

ตัวเก็บประจุแบบอะลูมินั่มอิเล็กทรอไลติก นิยมใช้กันในวงจรกรองสัญญาณ วงจรเชื่อมต่อ และวงจรส่งผ่าน สัญญาณซึ่ง ต้องการค่าความจุสูง ๆ และค่าความจุสูงกว่าที่ตัวเก็บประจุแบบอื่น ๆ ที่สามารถให้ได้


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.