กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
การเลือกตัวเก็บประจุให้เหมาะกับงาน : สว่าง ประกายรุ้งทอง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 68 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2528 - เดือน มกราคม พ.ศ. 2529

หน้าแรก
ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก
ตัวเก็บประจุแบบไมก้า
ตัวเก็บระจุแบบแก้ว
ตัวเก็บประจุแบบเปเปอร์และ แบบพลาสติก
ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม
ตัวเก็บประจุแบบ อะลูมินั่มอิเล็กทรอไลติก
ตัวเก็บประจุแบบทริมเมอร์
สรุปแนวทางในการเลือกใช้ ตัวเก็บประจุ




ตัวเก็บประจุแบบเทนทาลั่ม

ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม จะให้ค่าความจุสูงในขณะที่ตัวถังที่บรรจุมีขนาดเล็ก และมีอายุในการเก็บไว้เฉยๆ ดีมาก. ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มนี้มีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น ชนิด โซลิต ( solid type ) ชนิด ซินเทอร์สลัก ( sintered slug ) ชนิดฟอลย์ธรรมดา ( plain foil ) ชนิดเอ็ชฟอยล์ ( etched foil ) ชนิดเว็ทสลัก ( wet slug ) และ ชนิดชิ้นสี่เหลี่ยม ( chip ) การนำไปใช้งานต่างๆ ประกอบด้วยวงจรกรองความถี่ต่ำ วงจรส่งผ่านสัญญาณ ชนิด โซลิตนั้นไม่ไวต่ออุณหภูมิ และ มีค่าคุณ สมบัติระหว่างค่าความจุอุณหภูมิต่ำกว่า ตัวเก็บประจุ แบบอิเล็กทรอไลติกชนิดใด ๆ

สำหรับงานที่ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม ไม่เหมาะ ได้แก่ วงจรตั้งเวลาที่ใช้ RC ระบบกระตุ้น ( triggering system ) หรือ วงจรเลื่อนเฟส ( phase - shift net work ) เนื่องจากตัวเก็บประจุแบบนี้ มีค่าคุณสมบัติของการดูดกลืนของไดอิเล็กตริก สูง ซึ่งหมายถึงเมื่อตัวเก็บประจุถูกคายประจุ สารไดอิเล็กตริกยังคงมีประจุหลงเหลืออยู่. ดังนั้นเม้ว่าตัวเก็บประจุที่มีคุณสมบัติของ การดูดกลืนของสารไดอิเล็กตริกสูงจะถูกคายประจุประจุจนเป็นศูนษ์แล้วก็ตาม จะยังคงมีประจุเหลืออยู่เป็นจำนวนมากพอ ที่ จะทำ ให้เกิดปัญหาในวงจรตั้งเวลา และ วงจรอื่นที่คล้ายกัน

ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม ไม่แนะนำให้ใช้ในวงจรซึ่งผลิตสัญญาณสไปค์ ( spike ) แรงดันสูงๆ ในระยะเวลาสั้นๆ หรือ สัญญาณ พัลส์ เนื่องจากถ้าแรงดันในวงจรมีค่าสูงเกินกว่าอัตราทนแรงดันของตัวเก็บประจุแบบนี้ เพียง 2 - 3 โวลต์ จะทำให้ตัว เก็บประจุนี้เสียหายได้

ตารางที่ 4 รหัสแถบสีของตัวเก็บประจุโพลีเอสเตอร์บางชนิด

ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่ม มีทั้งชนิดที่มีขั้ว และ ไม่มีขั้ว . ตัวเก็บประจุแบบมีขั้วนั้น จะต้องไม่ใช้งานโดยการป้อนไฟ กลับขั้ว. หรือ ใช้ในที่ แรงดันไฟสลับ ค่าสูงสุดเกินกว่า 2% ของอัตราการทนแรงดันไฟสลับค่าสูงสุดเกินหว่า 2 % ของอัตรา การทนแรงดันไฟ กระแสตรงของตัวมันส่วนแบบที่ไม่มีขั้วนั้นจะไม่มีข้อจำหัดจากเรื่องการต่อขั้วดังกล่าว . ตัวเก็บประจุ แบบไม่ มีขั้วนี้ ทำได้จากการนำเอาตัวเก็บประจุแบบมีขั้ว 2 ตัว มาต่ออนุกรมกัน. โดยต่อขั้วลบของทั้งสองตัวเข้าด้วยกัน

รูปที่ 14 แสดงถึงตัวเก็บประจุแบบเมตัลไลซ์โพลีเอสเตอร์ฟิล์ม ซึ่งใช้โพลีเอทธีลีนเทอร์ฟาร์เลต (PETP) เป็นไดอิเล็กตริก ตัวเก็บประจุแบบนี้มีค่าความคลาดเคลื่อนระหว่าง บวกลบ 10 % ถึง 20% โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 300 PPM/c


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.