วาริสเตอร์ ผู้พิทักษ์วงจร
: สว่าง ประกายรุ้งทอง
|
|
หน้าแรก |
การประยุกต์ใช้งาน วาริสเตอร์นั้น ถูกนำไปใช้ในการกำจัดสัญญาณรบกวนที่เป็นพัลส์กำลังงานสูง โดยเฉพาะ เช่น จากแสงสว่าง หรือ อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในวงจรที่มีตัวเหนี่ยวนำถูกเปิดวงจร. การตัดต่อนี้ อาจจะเป็นผลจากสวิตซ์ ฟิวส์ หรือ จากสารกึ่งตัวนำถ้าสารกึ่งตัวนำ นี้เป็นไทริสเตอร์. คุณอาจจะคิดว่าไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์นี้จะเปิด วงจรเฉพาะจุดที่แรงดันของปหล่งจ่ายไฟเท่ากับ ศูนษ์ . ดังนั้น จึงไม่น่าที่จะมีแรงดันเหนี่ยวนำเกิดขึ้น ซึ่งความจริงแล้ว การตัดต่อ จะเกิดขึ้นในขณะเดียวกับที่กระแสลดลงต่ำกว่า ค่ายึด ( holding value ) ซึ่งเป็นค่ากระแสที่จำเป็น. สำหรับรักษาให้ไทริสเตอร์ยังคงนำกระแสอยู่ ค่ากระแสยึดมีค่าไม่เท่ากับ ศูนย์ จึงทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ จำนวนเล็กน้อยขึ้น. ในหลายๆ กรณี พลังงานสนามแม่เหล็กซึ่งเท่ากับ 1 / 2 L(Iกำลัง2) จะถูกกระจายผ่านไดโอด และ ส่วนของความต้านทานที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยตัวเอง โดยที่ I เป็นค่ากระแสใน ขณะตัดวงจร เนื่องจากค่าความเหนี่ยวนำด้วยตัวเองส่วนใหญ่ แล้วจะเป็นการควบคุมทาง ด้านไฟกระแสในขณะตัดวงจร และ L เป็นค่าความเหนี่ยวนำทั้งหมดของวงจร. เนื่องจากค่าความเหนี่ยวนำด้วยตัวเองส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นการควบคุมทางด้านไฟกระ แสสลับ จึงทำให้ไม่สามารใช้ไดโอดได้. ดังนั้น วาริส เตอร์จึงเป็นหนทางเดียว ที่จะแก้ปัญหานี้ได้. สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้วาริสเตอร์สำหรับงานเฉพาะ คือ
เมื่อฟิวส์ตัดวงจร แรงดันของแหล่งจ่ายไฟจะเพิ่มสูงขึ้นทันทีทันใด ถ้าไม่มีการป้องกันไว้ อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจเสียหายได้ ขอยกตัวอย่างการเลือกใช้งานวาริส เตอร์ของบริษัท เยเนอรัล อีเลคทริก มาเป็นตัวอย่างให้ดู โดยวาริส เตอร์ของบริษัทนี้ ทำมาจากสังกะสีออกไซด์ ซี่งเป็นตัวต้านทานที่มีค่าแปรตามแรงดันอย่างสมมาตรกันทั้งช่วงบวกและ ลบ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้าย กับซีเนอร์ไดโอดต่อหันหลังชนกัน. เมื่อใช้งานในที่มีแรงดันทรายเชียนต์พลังงานสูงเข้ามา อิทพีแดนซ์ ของตัววาริส เตอร์ จะ เปลี่ยนจากค่าสูงมากที่เป็นอยู่มาเป็นค่าความต้านทานที่ต่ำมาก เป็นการลดระดับแรงดันทรานเชียนต์ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย. พลังงานที่มีอันตรายที่อยู่ในรูปของพัลส์ แรงดันสูงที่เข้ามาในวงจรจะถูกดูดซับโดยตัววาริส เตอร์นี้. เป็นการป้องกันอุปกรณ์อื่น ที่ไวต่อแรงดันสูงให้พ้นจากความเสียหายได้. |
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |