ความต้านทานทางอินพุท
ถ้าค่าความต้านทางอินพุทของออปแอมป์มีค่าเป็น
Zi อัตราการขยายของวงจรขยายแบบไม่กลับเฟสเท่ากับ G จะเขียนด้วยสูตรที่ละเอียดขึ้นเป็น
 
จากสูตรจะเห็นว่ามีเทอม
เพิ่มขึ้นมา ถ้า Av มีค่ามากแล้ว จะมีค่ายิ่งมากขึ้น AvZi อีก จึงทำให้เทอมนี้มีขนาดเล็กมาก
จนไม่มีผลกับค่า G เลย

รูปที่ 4 แสดงอัตราการขยายของออปแอมป์เมื่อต้านทานทางอินพุทไม่ถึงอนันต์
ยกตัวอย่างเช่น
ให้ Av = 100 และ Zi = 100 kโอห์ม คำนวณตามในรูปที่
4 จะพบว่าได้อัตราการขยาย 9.08 เมื่อเปรียบเทียบกับ 9.09 ซึ่งคำนวณไปแล้วโดยคิดว่า
Zi มีค่าใหญ่มากจนเป็นอนันต์จะเห็นว่าผลต่างนั้นน้อยมาก
และถ้าลองเพิ่ม
Av เป็น 10,000 จะได้อัตราขยายเป็น 9.9900 และ 9.9899 ซึ่งก็ต่างกันน้อยมาก
จนโวลต์มิเตอร์ที่ใช้งานอยู่ทั่วไปก็ไม่สามารถวัดถึงความแตกต่างนี้ได้
ออปแอมป์ที่ใช้งานทั่วไปนั้นมี
Av สูงมาก จนสามารถทิ้งค่า Zi ได้แต่อย่างไรก็ตาม Zi ก็ยังมีผลต่อวงจรบ้างโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวพันกับกระแสไบแอสทางอินพุท
ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป ซึ่งถ้ากระแสไบแอสนี้ไหลเข้าไปในออปแอมป์จะทำให้ไม่สามารถใช้ตัวต้านทานค่าสูง
ๆ ต่อเข้ากับวงจรออปแอมป์ได้
ลองดูในรูปที่
4 แรงดันอินพุท 1.101 V และกระแสไหลเข้าออปแอมป์ 1 microA จะทำให้วงจรเหมือนกับมีค่าความต้านทานอินพุทรวมเป็น
1.1 Mโอห์ม ซึ่งเป็นค่าที่นับได้ว่าสูงทีเดียว
|