กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
เรียนรู้ออปแอมป์อย่างละเอียด : กฤษดา วิศวธีรานนท์

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 78 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2530

หน้าแรก
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออปแอมป์
อัตราการขยายแรงดัน
ความต้านทานทางอินพุต
ความต้านทานทางเอาต์พุต
แรงดันออฟเซททางอินพุต
กระแสไบแอสทางอินพุต
กระแสออฟเซททางอินพุต
ลักษณะสมบัติเชิงความถี่



กระแสไบแอสทางอินพุท

กระแสไบแอสทางอินพุท หมายถึง กระแสที่ไหลเข้าหรือออกจากขั้วบวกหรือลบ ของอินพุทของออปแอมป์ไม่เกี่ยวข้องกับความต้านทานทางอินพุทของออปแอมป์ ปกติกระแสไบแอสทางอินพุท จะมีองค์ประกอบไฟตรงเป็นหลักในขณะที่ความต้านทานทางอินพุท จะมีองค์ประกอบทางไฟสลับเป็นหลัก

ทิศทางการไหลของกระแสไบแอสนี้ จะเป็นการไหลเข้าหรือออกจากออปแอมป์จะกำหนดจากชนิดของทรานซิสเตอร์หรือเฟ็ท ที่ขั้วอินพุทภายในออปแอมป์นั้น ๆ ส่วนใหญ่แล้วกระแสจะไหลเข้า แต่มีออปแอมป์บางตัว (เช่นเบอร์ 4558 ) กระแสจะไหลออก จึงควรระวังในจุดนี้ด้วย

รูปที่ 12 แสดงทิศทางการไหลของกระแสไบแอสที่อินพุทในไอซีแบบต่าง ๆ

นอกจากนั้น ยังมีออปแอมป์ชนิดที่มีความต้านทานทางอินพุทสูงมากและกระแสไบแอสต่ำ ภายในออปแอมป์จะมีวงจรต้านกระแสไบแอสนี้ เลยทำให้ทิศทางของกระแส ไบแอสไม่แน่นนอนลองดูรูปที่ 12 ประกอบ

ลองดูผลของกระแสไบแอสในรูปที่ 13 ก. นั้นออปแอมป์ต้องการกระแสไบแอส 100 microA กระแสนี้จะไหลเข้าออปแอมป์ทั้งทางขั้วบวกและลบ ถ้าค่าความต้านทานที่ต่อ บนทางเดินของกระแสทั้งสองด้านเท่ากัน ก็จะไม่มีผลทำให้เกิดแรงดันออฟเซทที่เอาท์พุท แต่ค่าความต้านทานที่ต่อกับขั้วบวกและลบนี้ แตกต่างกันละก็จะทำให้เกิดแรงดันออฟเซท ที่เอาท์พุทของวงจรทันที

คลิกเพื่อขยาย

รูปที่ 13 ผลของกระแสไบแอสทางอินพุท

ในรูปที่ 13 ให้ค่าความต้านทานที่ต่อวงจรเท่ากับ 10 kโอห์ม เมื่อกระแสไบแอสไหลผ่านตัวต้านทาน จะทำให้เกิดแรงดันเท่ากับ 100 mA x 10 kโอห์ม = 1 mV ในกรณีรูป ก. ทั้งขั้วบวกและลบมีแรงดัน 1 mV เท่ากัน จึกหักล้างกันเอง ไม่ทำให้เกิดแรงดันออฟเซทที่ขั้วเอาท์พุท ในกรณีรูป ข. และ ค. นั้น มีตัวต้านทานต่ออยู่เพียงข้างเดียว จึงไม่เกิดความสมดุล เป็นผลทำให้เกิดแรงดันออฟเซท

รูปที่ 14 แสดงการต่อตัวต้านทานที่อินพุททั้งสองให้สมดุลกัน

ถ้าที่ขั้วอินพุทของออปแอมป์มีตัวต้านทานมาต่อด้วยหลายตัว ตัวต้านทานที่จะต้องต่อเข้าที่อีกขั้วหนึ่งเพื่อให้เกิดความสมดุลจะต้องมีค่าเท่ากับการต่อขนานของ ตัวต้านทานทุกตัวนั้น ดูตัวอย่างในรูปที่ 14

ในปัจจุบันมีออปแอมป์ที่ใช้เฟ็ทเป็นอินพุทอยู่หลายตัว ที่นิยมใช้แพร่หลายกันดูในตารางที่ 1 ออปแอมป์ชนิดนี้ จะมีกระแสไบแอสที่อินพุทต่ำมาก จนไม่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.