ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของไตรแอก

รูปที่ 13 การใช้งานไตรแอก
โดยหม้อแปลง T1 เป็นตัวจ่ายแรงดันทริกให้กับเกต
วงจรในรูปที่
13 เป็นการนำเอาไตรแอกมาใช้งานเป็นสวิตช์ควบคุมไฟสลับ โดยมีการทริกที่เกตเป็นแบบไฟตรงซึ่งได้มาจากทรานส์ฟอร์เมอร์
T1 เมื่อสวิตช์ S1 เปิดวงจรอยู่จะไม่มีกระแสไหลผ่านเข้าไปที่เกต ดังนั้นจึงทำให้ไตรแอกไม่ทำงาน
แต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลงก็จะเป็นการทริกเกต ทำให้ไตรแอกเริ่มนำกระแส ดังนั้นโหลดก็จะทำงาน
ในกรณีของโหลดที่เป็นแบบตัวเหนี่ยวนำเช่น มอเตอร์ จำเป็นที่จะต้องใช้ R2
และ C2 ลงไปใช้ในวงจรด้วยเพื่อป้องกันผลของ rate - effect ที่อาจเกิดขึ้นได้

รูปที่ 14 วงจรที่ดัดแปลงจากรูปที่
13 โดยใช้ UJT เป็นตัวกำเนิดความถี่ที่ใช้ป้อนเป็นสัญญาณทริกให้เกต
จากวงจรนี้จะเห็นได้ว่าอีกด้านหนึ่งของทรานส์ฟอร์เมอร์
T1 ต่ออยู่กับไฟสลับ ดังนั้นจึงอาจเกิดอันตรายขึ้นได้จึงดัดแปลงวงจรโดยใช้
UJT เข้าช่วยดังรูปที่ 14 ในขณะที่ S1 ถูกปิดอยู่ UJT จะทำหน้าที่กำเนิดความถี่สูงเป็นหลาย
ๆ กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีพัลส์ที่ทริกแก่เกต 50 ลูกในทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับ
ดังนั้นไตรแอกจะถูกกระตุ้นให้ทำงานเกือบจะเป็นทันทีที่ปิดวงจรสวิตช์ S1 และก็จะเป็นการจ่ายพลังงานเต็มที่ให้แก่โหลดด้วย
ตลอดในช่วงที่ S1 ยังปิดวงจรอยู่

รูปที่ 15 วงจรแบบพื้นฐานที่สุดในการใช้งานไตรแอก
ในรูปที่
15 แสดงถึงการที่ไตรแอกสามารถทำงานเป็นสวิตซ์ ที่ใช้ควบคุมการจ่ายกระแสโหลดแบบที่ง่ายที่สุดโดยเมื่อสวิตซ์
S1 เปิดวงจรอยู่ ไตรแอกและโหลดจะไม่ทำงาน แต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลง ที่จุดเริ่มต้นของทุก
ๆ ครึ่งตามของสัญญาณไฟสลับที่ให้นั้นไตรแอกจะยังไม่นำกระแส แต่หลังจากนั้นเพียงเล็กน้อยแรงดันที่ขาเกต
ก็มีค่าสูงพอที่จะทำให้ไตรแอกเริ่มนำกระแสได้ ดั้งนั้น หลอดไฟจะติดสว่าง
และไตรแอกจะหยุดทำงานลงอีก เมื่อแรงดันของสัญญาณไฟสลับเข้าใกล้จุดตัดศูนย์อีกครั้ง
แล้วก็จะเริ่มทำงานใหม่เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ แต่สำหรับโหลดที่เป็นหลอดไฟแล้ว
จะไม่รู้สึกว่ามีการติด / ดับสลับกัน เนื่องจากช่วงที่ไตรแอกไม่นำกระแสนั้นสั้นมาก
วงจรในรูปที่
15 นี้สามารถดัดแปลงให้มีการจ่ายไฟให้แก่โหลด ในลักษณะที่เป็นครึ่งคลื่นได้อย่างง่าย
ๆ โดยใส่ไดโอดลงไประหว่าง S1 และ R1 ในวงจร ขั้วของไดโอดที่ใส่ลงไปนั้น จะเป็นตัวกำหนดว่าสัญญาณครึ่งคลื่นของไฟสลับที่จะจ่ายให้แก่โหลดนั้นเป็นซีกบวกหรือลบ
|