กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
ไตรแอกและเอสซีอาร์ ตอนที่ 1 : พลผดุง ผดุงกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 91 เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2532

หน้าแรก
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของ เอสซีอาร์ ในการควบคุมระบบไฟตรง
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของ เอสซีอาร์ ในการควบคุมระบบไฟสลับ
ทฤษฎีพื้นฐานของไตรแอก
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของ ไตรแอก
การควบคุมกำลังไฟแบบเฟส ทริกเกอร
สัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ
เทคนิคการใช้จุดตัดศูนย์




เทคนิคการใช้จุดตัดศูนย์

ในกรณีของโหลดที่ต้องการกำลังไฟสูง เช่นตัวกำเนิดความร้อนที่ใช้ไฟฟ้าโดยใช้ไตรแอกควบคุมการทำงาน จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดค่าของ RFI นี้ ถ้ากรณีที่ใช้ไตรแอกทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด / ปิดการทำงานเท่านี้ ผลของ RFI จะเกิดขึ้นทุก ๆ ครั้งที่มีการปิดวงจรสวิตช์ให้ระบบเริ่มทำงาน และผลนี้จะมีค่ามากที่สุด ถ้าในขณะที่เปิดระบบให้ทำงานในช่วงจังหวะที่มีเฟสเป็น 90 องศาพอดี RFI นี้จะลดลงได้โดยใช้เทคนิคของจุดตัดศูนย์เข้าช่วย ดังแสดงไว้ในวงจรรูปที่ 18

รูปที่ 18 การใช้ตัวตรวจจับการตัดศูนย์เป็นตัวทริกไตรแอกเพื่อลดผลของ RFI ให้ต่ำที่สุด

จากรูปจะเห็นได้ว่า R1, D1, D2 และ C1 ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟตรง 12 โวลต์ ที่ป้อนให้แก่วงจรตรวจจับการตัดศูนย์ ซึ่งจะต่อโดยตรงอยู่กับไฟสลับวงจร ตรวจจับการตัดศูนย์นั้นสามารถสร้างขึ้นได้โดยใช้ทรานซิสเตอร์หลาย ๆ ตัว โดยจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ วงจรนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวป้อนสัญญาณพัลส์เพื่อทริกขาเกตของไตรแอก ในขณะที่สัญญาณไฟสลับที่ให้มีการตัดศูนย์เกิดขึ้นทุกครั้ง ดังนั้นการทริกจะเกิดขึ้นในจังหวะที่เฟสของสัญญาณไฟสลับเป็น 0 องศา เท่านั้น จึงทำให้ RFI ที่เกิดขึ้นมีค่าน้อยที่สุด

เทคนิคการใช้จุดตัดศูนย์นี้ ใช้กับวงจรที่ต้องการปรับค่ากำลังไฟที่จะป้อนให้แก่โหลดได้ เพื่อลดค่าของ RFI ลงได้เช่นกัน โดยเปลี่ยนสวิตช์ S1 ในรูปที่ 18 ไปเป็นวงจรสร้างสัญญาณพัลส์ที่สามารถปรับอัตราส่วนของช่วงสัญญาณ ที่มีลูกคลื่นกับช่วงเว้นว่างได้ ดังนั้น โหลดจะได้รับไฟสลับเป็นช่วง ๆ ไป นั่นคืออาจจะได้รับ 4 ลูกคลื่นและเว้นไปอีก 4 ลูกคลื่นสลับกันเช่นนี้เรื่อย ๆ แต่ลูกคลื่นแต่ละลูกที่ได้รับจะเต็มลูกคลื่นเสมอ

รูปที่ 19 ตัวอย่างการแบ่งคาบเวลาการจ่ายไฟสลับให้แก่โหลดเป็นช่วง ๆ โดยมีความยาวช่วงละ 8 ลูกคลื่น

ในรูปที่ 19 แสดงลักษณะของไฟสลับที่ป้อนให้แก่โหลดในวิธีนี้ โดยในที่นี้จะแบ่งคาบเวลาของการจ่ายไฟสลับทั้งหมดเป็นช่วง ๆ ที่เท่า ๆ กัน ในแต่ละช่วงมี 8 ลูกคลื่น ถ้าไตรแอกถูกทริกให้นำกระแสเพียง 4 ลูกคลื่นและไม่นำกระแส 4 ลูกคลื่น นั่นก็หมายความว่าโหลดจะได้รับกำลังไฟเพียงครึ่งหนึ่งของไฟสลับทั้งหมด และถ้าถูกกำหนดให้ไตรแอก นำกระแสเพียงลูกคลื่นเดียวส่วนอีก 7 ลูกคลื่นไม่นำกระแส ก็หมายความว่าโหลดจะได้รับกำลังไฟเพียง 1 ใน 8 ส่วนเท่านั้น แต่ขอให้สังเกตว่าจังหวะของการทริกให้ไตรแอกเริ่มมีเฟส 0 องศาเท่านั้นซึ่งก็จะเป็นการลดผลของ RFI ที่จะเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันเราก็สามารถควบคุมกำลังไฟที่ป้อนให้แก่โหลดได้ตามต้องการ

จากสิ่งที่ได้กล่าวมาตั้งแต่จนจบนี้ เป็นเพียงหลักการทำงานและการใช้งานแบบพื้น ๆ ของเอสซีอาร์ และไตรแอกเท่านั้น ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบของเรื่องนี้จะได้ กล่าวถึงการใช้งานแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมาก


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.