กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
เคล็ดลับในการระบายความร้อนให้ดีที่สุดแก่อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ : อาณัติ พงษ์สุทธิรักษ์

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 92 เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2532

หน้าแรก
เคล็ดลับที่ 1 : การเลือกใช้แผ่น ฉนวนรอง
เคล็ดลับที่ 2 : การเลือกแผ่นระบาย ความร้อนให้ถูกกับงาน
เคล็ดลับที่ 3 : การใช้ครีมซิลิโคน
เคล็ดลับที่ 4 : ผลของแรงกดกับการ ระบายความร้อน
บทสรุป




เคล็ดลับที่ 1 : การเลือกใช้แผ่นฉนวนรอง

แผ่นฉนวนรอง (washer) มีความจำเป็นมากเมื่อต้องการแยกทางเดินไฟฟ้าของตัวถังอุปกรณ์ ออกจากแผ่นระบายความร้อน ดังนั้นแผ่นฉนวนรองจึงต้องมีคุณสมบัติที่เป็น ฉนวนไฟฟ้าที่ดี แต่ในขณะเดียวกันต้องเป็นตัวนำความร้อนที่ดี หรือเป็นฉนวนความร้อนที่เลวนั่นเอง

คุณสมบัติในการนำความร้อนดูได้จากค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อน (thermal conductivity) ถ้าค่านี้มีค่ามากแสดงถึงการนำความร้อนที่ดี ถ้ามีค่าน้อยก็แสดงว่า การนำความร้อนไม่ดี ดังนั้นสารที่นำมาทำแผ่นฉนวนรองจึงควรมีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนสูงๆยิ่งสูงมากยิ่งดี

รูปที่ 1 กราฟเปรียบเทียบแสดงความแตกต่างของสัมประสิทธิ์การนำความร้อนของแผ่นฉนวนรองแบบต่างๆเมื่อแรงกดและความหนาเท่ากัน

กราฟในรูปที่ 1 แสดงให้เห็นการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนของสารต่าง ๆ ที่นำมาทำแผ่นฉนวนรองทั้ง 8 ชนิด โดยให้มีแรงกดระหว่างแผ่นฉนวนรองกับ แผ่นระบายความร้อนเท่ากัน และความหนาของแผ่นฉนวนรองก็มีค่าเท่ากัน

ตารางที่ 1 แสดงตัวเลขและคุณสมบัติค่าของสารต่างๆให้เห็นโดยละเอียดซึ่งพอจะสรุปแนวทาง ในการเลือกใช้แผ่นฉนวนรองที่เหมาะสมดังนี้

  • ราคาถูก นำความร้อนแย่ เป็นฉนวนไฟฟ้าสูง เลือกใช้ไมลาร์
  • อุณหภูมิต่ำมาก ราคาถูก เลือกใช้โพลีเอมมีด
  • แข็งแรงมาก แต่เป็นฉนวนต่ำเลือกใช้อะลูมิเนียมอะโนไดซ์
  • ราคาแพง หักง่าย นำความร้อนดีที่สุด ทนอุณหภูมิสูงสุด แต่เป็นพิษเลือกใช้เบอริเลี่ยมออกไซด์
  • ความถี่ต่ำ ไม่เกิน 1 MHz เลือกใช้ไมลาร์, ไมก้า, โพลีเอมมีด, แผ่นยางซิลิโคน, ไฟเบอร์กลาสเคลือบซิลิโคน
  • ความถี่สูงมากเช่น ใช้กับ V-FET, VHF, UHF เลือกใช้อะลูมิเนียมออกไซด์ เบอริเลี่ยมออกไซด์
  • ไม่ต้องทาครีมซิลิโคน เลือกใช้แผ่นยางซิลิโคน, ไฟเบอร์กลาสเคลือบซิลิโคน ควรเลือกฉนวนที่มีค่าสัมประสิทธิ์การนำความร้อนสูงที่สุด ในราคาที่เหมาะสม และสถานที่เหมาะสำหรับงานนั้น ๆ


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.