กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
เคล็ดลับในการระบายความร้อนให้ดีที่สุดแก่อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ : อาณัติ พงษ์สุทธิรักษ์

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 92 เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2532

หน้าแรก
เคล็ดลับที่ 1 : การเลือกใช้แผ่น ฉนวนรอง
เคล็ดลับที่ 2 : การเลือกแผ่นระบาย ความร้อนให้ถูกกับงาน
เคล็ดลับที่ 3 : การใช้ครีมซิลิโคน
เคล็ดลับที่ 4 : ผลของแรงกดกับการ ระบายความร้อน
บทสรุป




เคล็ดลับที่ 2 : การเลือกแผ่นระบายความร้อนให้ถูกกับงาน

แผ่นระบายความร้อนหรือฮีตซิงค์ (heat sink) สามารถแบ่งเป็นชนิดต่างๆได้ 4 ชนิด แต่ละชนิดมีรูปร่างและเหมาะสำหรับงานแต่ละประเภทดังนี้

รูปที่ 2 แผ่นระบายความร้อนแบบกลมเป็นแผ่นแบน

1.แผ่นระบายความร้อนแบบกลมเป็นแผ่นแบน (round heat sink) มีรูปร่างดังรูปที่ 2 ส่วนใหญ่ใช้กับทรานซิสเตอร์ที่มีตัวถังแบบ TO-5, TO-92 ใช้กับกำลังงานความร้อนขนาด 1-10 วัตต์

รูปที่ 3 แผ่นระบายความร้อนแบบกลมมีครีบระบายความร้อนหลายชั้น

2.แผ่นระบายความร้อนแบบกลมมีครีบหลายๆชั้น (multifin omnidirectional heat sink) มีรูปร่างดังรูปที่ 3 งานส่วนใหญ่ใช้กับทรานซิสเตอร์ซึ่งมีตัวถังแบบ TO-5, TO-92 หรือไอซีรวมทั้งไอซีแบบเกตอะเรย์ (gate array IC) ที่ต้องการถ่ายเทความร้อนอย่างรวดเร็ว ใช้กับกำลังงานความร้อนขนาด 3-10 วัตต์

รูปที่ 4 แผ่นระบายความร้อนแบบฉีดเป็นเส้น

3.แผ่นระบายความร้อนแบบฉีดเป็นเส้น (extrude heat sink) เป็นแบบที่เห็นกันมากที่สุดในเมืองไทย รูปร่างดังรูปที่ 4 ส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องขยายเสียงหรือเครื่องจ่ายไฟ โดยใช้เป็นตัวระบายความร้อน ให้ทรานซิสเตอร์กำลังหรือมอสเฟ็ตกำลัง (power MOSFET) เหมาะสำหรับงานที่ตัองการระบายความร้อน สูงมาก

รูปที่ 5 แผ่นระบายความร้อนแบบหนาม

4.แผ่นระบายความร้อนแบบหนาม (pin-fin heat sink) ส่วนใหญ่ได้มาจากการหล่อแบบมีลักษณะ รูปร่างดัง รูปที่ 5 มีประสิทธิภาพสูงมากส่วนใหญ่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์ กำลัง เช่น SCR, ไตรแอค, ไดโอดเรียงกระแสขนาดกำลัง (power rectifier diode) ขนาดหลายสิบถึงหลายร้อยแอมป์ มีขนาดใหญ่และราคาแพงที่สุด

 


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.