กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
เทอร์โมคัปเปิล ตัววัดอุณหภูมิสูง ตอนที่ 1 : สว่าง ประกายรุ้งทอง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 93 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2532

หน้าแรก
หลักการทำงาน
หลากชนิด หลายแบบ
การใช้งานเทอร์โมคัปเปิล

เทอร์โมคัปเปิล ตัววัดอุณหภูมิสูง ( ตอนที่ 1 )

พระเอกในงานวัดอุณหภูมิภายใต้สภาพแวดล้อมที่เลวร้าย.

นักอิเล็กทรอนิกส์อย่างเราๆ มักจะไม่ค่อยคุ้นเคย กับเทอร์โมคับเปิลเท่าไรนัก. ทั้งๆ ที่เทอร์โมคับเปิลเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะ สมที่สุดในการวัดอุณหภูมิที่สูงกว่า 150 องศาเซลเซียสขึ้นไป . ซึ่งงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักต้องเกี่ยวกับอุณหภูมิสูงๆ เหล่า นี้ เช่น ใน การชุบแข็งเหล็กกล้าชนิดหนึ่ง จะต้องให้ความร้อนแก่เหล็กจนมีอุณหภูมิประมาณ 780องศาเซลเซียส แล้วรักษาอุณห ภูมิ นี้ไว้ชั่วขณะหนึ่ง. จากนั้นจึงจุ่มลงไปในน้ำให้เย็นตัวลงทันทีทันใด. โครงสร้างของเนื้อโลหะจะกลายเป็นผลึกที่มีความเค้นสูง และ มีความแข็ง แกร่งมากเรียกว่า มาร์เทนไซต์ ( martensite ) จุดสำคัญของขบวนการชุบแข็งนี้ ก็คือ การรักษาอุณหภูมิที่ 780 องศาเซลเซียส นี้ ให้ถูกต้องมากๆ. มิ ฉะนั้นเหล็กกล้าที่ได้ก็จะไม่แข็งอย่างที่ต้องการ. งานแบบนี้ละครับที่เทอร์โมคับเปิล ถนัด. ถ้าจะใช้ไอซีครวจอุณหภูมิอย่าง LM335Z หรือ ทรานซิสเตอร์ , ไดโอดอย่างทั่วๆ ไป ก็มีหวังกรอบเป็นข้าวเกรียบแน่.


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.