กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
เทอร์โมคัปเปิล ตัววัดอุณหภูมิสูง ตอนที่ 1 : สว่าง ประกายรุ้งทอง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 93 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2532

หน้าแรก
หลักการทำงาน
หลากชนิด หลายแบบ
การใช้งานเทอร์โมคัปเปิล

การใช้งานเทอร์โมคัปเปิล

ในการวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมคัปเปิลนั้น จะต้องควบคุมอุณหภูมิที่รอยต่อด้านหนึ่งไว้ในอุณหภูมิคงที่. ในขณะที่รอยต่อ อีกด้านหนึ่งอยู่ในอุณหภูมิที่ต้องการวัด . ถ้าต้องการความเที่ยงตรงสูง จะต้องแช่รอยต่อด้สนหนึ่งไว้ในกระติกน้ำแข็ง ที่ 0 องศาเซลเซียส แต่ถ้าไม่ต้องการความเที่ยงตรงมากนักก็ปล่อยรอยต่อด้านเย็นไว้ที่อุณหภูมิ ปกติก็ได้ . จากนั้นทำการวัดแรงดัน ที่ได้จากเทอร์โมคัปเปิล แล้วนำมาหาค่าอุณหภูมิที่แท้จริงจากสมการ

Va = Vm + V r

เมื่อ Va คือ แรงดันซีเบคที่เกิดขึ้นที่รอยต่อแอคทีฟ ( ในอุณหภูมิที่ต้องการทราบ ) Vm คือ แรงดันที่วัดได้ Vr คือ แรงดันซีเบคที่เกิดขึ้นที่รอยต่ออ้างอิง. ( ในอุณหภูมิคงที่ ) หรือ จะกล่าวง่ายๆ คือ หาค่าแรงดัน V r จากตารางความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน และ อุณหภูมิ เมื่อทราบค่าอุณหภูมิอ้างอิง ( Tr ) แล้วนำไปบวกกับแรงดันที่วัดได้ ได้ผลลัพธ์เป็นแรงดัน Va แล้วค่อยหาอุณหภูมิที่ ต้องการทราบ ( Ta ) จากตารางเดิมอีกครั้งหนึ่ง.

หากพิจารณาจริงๆ แล้ว จุดเชื่อมต่อสองจุดระหว่างเทอร์โมคัปเปิลกับสายต่อภายนอกที่ต่อไปยังโวลต์มิเตอร์ ก็มีคุณ สมบัติเป็นเทอร์โมคัปเปิลด้วยเหมือนกัน คือ ส่วนที่อยู่ในเส้นประในรูปที่ 6 จึงควรให้สายต่อภายนอกทั้งสองเส้นนี้เป็นโลหะ ชนิดเดียวกัน และ ให้อุณหภูมิที่รอยต่อทั้งสองเท่ากัน. ก็จะไม่มีผลกระทบกับความถูกต้องของการวัดอุณหภูมิ.

รูปที่ 6 ในทางปฏิบัติ รอยต่ออ้างอิงจะถูกแยกออกเป็นรอยต่อครึ่งหนึ่งสองจุด คือ Jr1 และ Jr2 ซึ่งโลหะที่ใช้ทำเทอร์โมคัปเปิลจะเชื่อมต่อกับวงจรภายนอก

นอกจากการวัดอุณหภูมิสูงๆ แล้ว ตัวอย่างการใช้งานเทอร์โมคัปเปิลที่น่าสนใจอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ใช้ วัดกำลังส่งออก อากาศของเครื่องส่งวิทยุได้ . วิธีการ คือ ใช้ตัวจ้านทานที่ไม่มีคุณสมบัติของตัวเหนี่ยวนำ ( non - inductive resistor ) ขนาดเล็กๆ ต่อเป็นโหลดของเครื่องส่งแล้วติดตั้งเทอร์โมคัปเปิลไว้ติดกับตัวต้านทานนี้. แล้วหุ้มด้วยกล่องแก้วสุญญากาศ ดัง แสดงในรูปที่ 7 . ค่ากำลังงานที่สูงขึ้นของเครื่องส่งจะทำให้ อุณหภูมิของตัวต้านทานเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับกำลังงาน อาร์เอ็มเอส แล้วทำการปรับแรงดันที่ได้จากเทอร์โมคัปเปิลให้อยู่ในรูปของระดับกำลังงานของคลื่นวิทยุ. หลักการวัดกำลังงาน ของคลื่นวิทยุวิธีนี้มีความเที่ยงตรงอยู่ในขั้นใช้ได้ทีเดียวง และ ใช้กันอย่างกว้างขวางก่อนที่จะค้นพบวิธีการวัดกำลังงานของ คลื่นวิทยุวิธีอื่น.

รูปที่ 7 เทอร์โมคัปเปิลขนาดเล็กที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะที่เป็นสูญญากาศ และตัวต้านทานที่เป็นโหลดรวมอยู่ด้วย ซึ่งใช้ในการวัดกำลังงานของความถี่วิทยุ

สำหรับการวัดอุณหภูมิแบบทั่วไปจะใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์อีกเพียงเล็กน้อยง คอยติดตามในตอนที่สองครับ เราจะสร้าง เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิสูงๆ ถึง 900 องศาเซลเซียส โดยใช้ เทอร์โมคัปเปิล ชนิด K กัน.


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.