กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
เทอร์โมคัปเปิล ตัววัดอุณหภูมิสูง ตอนที่ 1 : สว่าง ประกายรุ้งทอง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 93 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2532

หน้าแรก
หลักการทำงาน
หลากชนิด หลายแบบ
การใช้งานเทอร์โมคัปเปิล

หลักการทำงาน

เทอร์โมคับเปิลนั้น มีประวัติค่อนข้างเก่าแก่ทีเดียว คือ ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2364 โอยนักฟิสิกส์ ชาวเยอรมันชื่อ โทมัส โจฮานน์ ซีเบค ( Thomas Johann Seebeack ) ได้ค้นพบว่า เมื่อต่อโลหะ 2 ชนิดเข้าด้วยกัน ตามรูปที่ 1 ให้มีรอยต่อ ระหว่างโลหะ2 ชนิดนี้ 2 แห่ง แล้วทำให้รอยต่อทั้งสองมีอุณหภูมิต่างกัน จะเกิดกระแสไฟฟ้าขนาดอ่อนๆ ไหลภายในวงจรการ ที่เกิดกระแสไฟฟ้าไหลได้นี้ เนื่องจากมีความแตกต่างศักย์เกิดขึ้นที่รอยต่อแต่ละแห่ง และ มีขั้วตรงข้ามกัน. โดยที่แรงดันขั้ว รอยต่อร้อนจะสูงกว่า แรงดันที่รอยต่อเย็น . ความต่างศักย์ที่ เกิดขึ้นบนรอยต่อของโลหะนี้เราเรียกว่า " แรงดันไฟฟ้าซี เบค " ( Seebeck EMF ) ผลต่างของแรงดันที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดเป็นแรงดันจำนวนหนึ่งที่ทำให้มีกระแสไหลก็ได้.

รูปที่ 1 วงจรพื้นฐานของเทอร์โมคัปเปิล

แรงดันที่เกิดขึ้นมีค่าน้อยมาก โดยปกติจะมีค่าประมาณ 0.2 - 0.3 มิลลิโวลต์เท่านั้น. ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะที่นำมา จับคู่ด้วย ได้มีผู้ทดลองจับคู่โลหะชนิดต่างๆ เพื่อทำเป็นเทอร์โมคัปเปิล สำหรับงานแต่ละแบบไว้หลายคู่ แต่ละคู่จะเรียกชื่อตาม ตัวอักษรภาษาอังกฤษตารางที่ 1 แสดงถึงคุณสมบัติของเทอร์โมคัปเปิลบางชนิดที่นิยมใช้กัน.

ตารางที่ 1 : เทอร์โมคัปเปิลชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้กัน

จากตารางที่ 1 จะเห็นว่าเทอร์โมคัปเปิลชนิด N ที่สร้างจากโลหะผสมของนิกเกิล - โครเมี่ยม - ซิลิ กอน ( Nicrosil ) และ โลหะผสมของ นิเกิล - ซิลิกอน ( Nisil ) นั้น มีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิดีเยี่ยม มีอายุ การใช้งานยาวนานที่อุณหภูมิสูง ให้แรงดันสูง กว่าเทอร์โมคัปเปิล อุณภูมิสูงๆ ด้วยกัน และ ราคาถูก ทำให้มันได้ รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่รอยต่อของเทอร์โมคัปเปิล และ แรงดัน ผลลัพธ์ที่ได้นั้นไม่ได้เปลี่ยน แปลงแบบเชิงเส้น แต่จะคล้ายกราฟพาราโบลา ( parabolic curve ) ดังแสดงในรูปที่ 2 . บรรดาผู้ผลิตจึงต้องแนบตาราง ความสัมพันธ์ของแรงดันอุณหภูมิ ประจำเทอร์โมคัปเปิลแต่ละชนิดให้ผู้ใช้ทราบด้วย.

รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าอุณหภูมิ และแรงดันซีเบคที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นเชิงเส้น แต่เป็นแบบพาราโบล่า


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.