กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
โช้คความถี่สูง : ธนาวุฒิ ไกรฤทธิกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 43

หน้าแรก
โครงสร้าง
คุณสมบัติการทำงาน
การอ่านค่า

โช้คความถี่สูง

เมื่อสมองของคุณริเริ่มประมวลข้อมูลต่างๆ ออกมาว่า. คุณมีความจำเป็นจะต้องเข้าไปยุ่งกับสัญญาณความถี่สูงๆ เมื่อไร. อุปกรณ์ตัวแรกที่คุณจะต้องทำศึกเคี่ยวกับมันก่อนเห็นจะได้แก่ ขดลวดต่างๆมากมายหลายแบบ. โช้คที่จะกล่าวถึงนี้เป็นตัวอย่าง หนึ่งของขดลวดที่ใช้กับความถี่สูง ซึ่งคุณจะต้องเจอกับมันตัวต่อตัวอย่างแน่นอน. ถ้าจะว่ากันตามความหมายของภาษาอังกฤษ แล้ว โช้ค ( choke ) ก็หมายความถึงการสะกัดไว้ หรือ กั้นไว้. ถ้าเรียกกันเต็มหน่อยว่า อาร์เอฟโช้ค ( RF chocke , radio frequency choke ) โดยทั่วไปก็จะ หมายถึง ขดลวดสำหรับใช้ป้องกันสัญญาณความถี่วิทยุ ไม่ให้ผ่านไป. ในขณะเดียวกันก็ ลำเลียงปล่อยให้สัญญาณกระแสตรง และ สัญญาณความถี่ต่ำ เช่น สัญญาณเสียงผ่านไปได้ ซึ่งวงจรที่ทำหน้าที่นี้ก็เรียกว่า วงจร ดีคัปปลิ้ง ( decoupling )

ตัวอย่างการใช้งานของโช้คความถี่สูง ในการป้องกันการรบกวนจากสัญญาณความถี่สูง ในการป้องกันการรบกวนจาก สัญญาณความถี่สูงจะพบเห็นได้ในวงจรที่ใช้ เอสซีอาร์ หรือ ไตรแอก วงจรหรี่ไฟ หรือ วงจรควบคุมมอเตอร์แบบต่างๆ เพราะ ในขณะที่เอสซีอาร์ หรือ ไตรแอกเหล่านี้เริ่มนำกระแสแบบทันทีทันใด. จะส่งสัญญาณความถี่ออกมาพร้อมกันด้วย. ซึ่งอาจจะไป รบกวนเครื่องมืออื่นๆได้ จึงต้องกันไว้ก่อน. นอกจากนี้ยังมี การใช้งานกันอย่างกว้างขวางในวงจรกรองสัญญาณต่าง ๆ ไม่ว่าวงจรผ่านความถี่ต่ำ , ผ่านความถี่สูง , วงจรรูปพัลล์ หรือการชดเชยความถี่กว้างมาก เช่น วงจรขยายสัญญาณภาพ.


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.