กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
โช้คความถี่สูง : ธนาวุฒิ ไกรฤทธิกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 43

หน้าแรก
โครงสร้าง
คุณสมบัติการทำงาน
การอ่านค่า

คุณสมบัติการทำงาน

โช้คที่ดีจะต้องให้ค่าอิมพีแดนซ์สูงได้ตลอดช่วงความถี่กว้าง ๆ แต่ในความเป็นจริง การที่มีค่าความจุระหว่างเส้นลวด กระจายอยู่ทั่วไป และ ความต้านทานภายในเส้นลวด จะมีผลทำให้การทำงานเปลี่ยนแปลงไป.

รูปที่ 3 สัญลักษณ์แทนขดลวดที่ความถี่ต่าง ๆ

ที่ความถี่ต่ำๆ ค่าความจุมีผลกระทบกระเทือนน้อยมาก จนถือได้ว่าค่าความจุนี้ไม่มีเลยก็ได้ ซึ่งจะแทนโช้คได้ด้วยสัญลักษณ์ รูป ก. ในรูปที่ 3 ที่ความถี่สูงขึ้นๆ จนถึงที่ความถี่อันหนึ่ง มันจะทำหน้าที่เป็นวงจรเรโซแนนซ์ แบบขนาน. ซึ่งแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ ในรูป ข. ที่ความถี่สูงขึ้นไปกว่านี้ ค่าความจุระหว่างเส้นลวดจะมีผลมากกว่าความเหนี่ยวนำของขดลวด. ตัวโช้ค แทนที่จะมีความเหนี่ยวนำกลับกลายเป็นมีความจุ ดังสัญลักษณ์ เรโซแนนซ์ แบบอนุกรมในรูป ค. อิมพีแดนซ์ของโช้คนี้ จะเห็นว่า เพิ่มขึ้น และลดลงตามความถี่ ดังกราฟในรูปที่ 4 ในการใช้งาน เราไม่ควรใช้งานโช้คที่ความถี่ใกล้กับค่าความถี่ เรโซแนนซ์อนุกรม มากเกินไป. โดยปกติ จะใช้งานห่างออกไปประมาณ 20 - 30 เปอร์เซ็นต์ และไม่ควรใช้งานโช้คที่ความถี่เกินกว่า 150 เปอร์เซ็นต์ ของค่าความถี่เรโซแนนซ์อนุกรมด้วย.

รูปที่ 4 ค่าอิมพีแดนซ์ของโช้คทั่ว ๆ ไปที่ความถี่ต่าง ๆ

ยิ่งค่าความจุระหว่างเส้นลวดน้อยเท่าไร ค่าความถี่เรโซแนนซ์อนุกรมก็จะยิ่งสูงมากเท่านั้น. ซึ่งก็คือ ความสามารถในการ ทำงานของโช้คที่ความถี่สูงขึ้นนั่นเอง. โช้คแบบพิเศษๆ เช่นแบบ โปรเกรสซีฟแล็ทเทอราล มี ค่าความจุระหว่างเส้นลวดต่ำมาก. ทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงค่าอิมพีแดนซ์ตลอดช่วงความถี่ ใช้งานน้อยมากเมื่อเทียบกับโช้คแบบอื่น ๆ ซึ่งได้เปรียบเทียบกันให้ดูแล้ว ดังในรูปที่ 5.

รูปที่ 5 การเปรียบเที่ยบค่าความถี่เรโซแนนซ์อนุกรมกับค่าความเหนี่ยวนำของโช้ครูปร่างต่าง ๆ

ความต้านทานกระแสตรงของโช้คสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน. ส่วนหนึ่งเป็นความต้านทานที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามความ ถี่ที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการแสจะไม่ยอมไหลในใจกลางของเส้นลวด. แต่จะมาเบียดไหลตามผิวของเส้นลวดเพิ่มขึ้นทุกที. เมื่อ ความถี่เพิ่มขึ้น ๆ ถ้าคิดเฉพาะความต้านทานปกติ ก็อาจได้ 500 ถึง 600 โอห์ม. สำหรับโช้คที่มีค่าความเหนี่ยวนำสูง แต่ถ้าคิด ความต้านทานกระแสตรงทั้งหมด ความต้านทานนี้ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่ามความถี่.แต่ไม่ใช่ขึ้นตลอดเวลา. เพราะผลอันเนื่องมาจาก ความต้านทานนี้ตกลงในที่สุด. ตามเส้นกราฟในรูปที่ 6.

รูปที่ 6 ค่าความต้านทานกระแสตรงของโช้คที่ความถี่ต่าง ๆ

ค่าจำกัดของโช้คความถี่สูงนี้อีกตัวหนึ่งคือ จำนวนกระแสที่ยอมให้ไหลผ่านตัวมันได้ โดยไม่เกิดความร้อนถึงขั้นเสียหาย และ ไม่มากพอที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะสมบัติการทำงานของมัน ซึ่งมักจะมีค่าอยู่ในช่วงไม่กี่ มิลลิแอมแปร์ สำหรับโช้คที่มีค่า ความเหนี่ยวนำสูงๆ จนถึงหลายแอมแปร์ สำหรับโช้คที่มีค่าความเหนี่ยวนำต่ำๆ.

โช้คที่ทำมาสำหรับทนกระแสสูงหน่อยก็มีเหมือนกัน มักจะใช้กับพวกวงจรสัญญาณรบกวน ที่เกิดจากเอสซีอาร์หรือ ไตรแอก , วงจรกันกระแสกระชากของไส้หลอดต่างๆ และ วงจรส่งกำลังความถี่วิทยุกำลังสูง ๆ แบบหลอด เป็นต้น.

ค่า Q ของโช้คมักจะต่ำ เพราะไม่ได้ต้องการให้ทำงานที่ความถี่เดียวเหมือนวงจรเลือกความถี่ ค่าที่ได้ จากที่ผู้ผลิตกำหนด มามักจะเป็นค่า Q ต่ำสุดที่ความถี่ใด ความถี่หนึ่ง. ลองดูตัวอย่างได้ในรูปที่ 7

รูปที่ 7 เปรียบเทียบค่า Q ของโช้คกับความถี่ของโช้ค 2 ขนาด


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.