กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
โช้คความถี่สูง : ธนาวุฒิ ไกรฤทธิกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 43

หน้าแรก
โครงสร้าง
คุณสมบัติการทำงาน
การอ่านค่า

โครงสร้าง

ถ้าจะว่ากันแบบทั่วๆไป จะเห็นรูปร่างของโช้คได้ตามรูปที่ 1 ซึ่งจะเห็นเป็นลวดพันบนแกนอะไร สักอย่างหนึ่ง. อาจจะเป็น สารเฟโนลิค ( อย่างเดียวกับที่ใช้แผ่นวงจรพิมพ์แบบธรรมดา ) เป็นพลาสติก หรือ เป็นผงเหล็ก หรือไม่ก็อาจเป็นสารเฟอร์ไรต์ก็ได้ ถ้าเป็นผงเหล็ก หรือ สารเฟอร์ไรต์ก็จะช่วยลดจำนวนรอบของขดลวดให้น้อยลง

รูปที่ 1 โครงสร้างทั่ว ๆ ไปของโช้คความถี่สูง

ปกติแล้วแกนที่ใช้พันขดลวดจะมีปลายลวดยื่นออกมาทั้งสองข้าง. ลวดทั้งสองเส้นนี้จะฝังติดกับ แกนแน่น และ ปลายลวด นี้ก็จะเชื่อมต่อกับปลายทั้งสองของขดลวด รูปร่างโดยทั่วไปจะเป็นแกนยาวแบบทรงกระบอก. แต่ที่ปลายลวดทั้งสอง หรือขาของ มันยื่นออกมาทางเดียวกันก็มีเหมือนกัน

โครงสร้างอีกแบบหนึ่งดังที่เห็นในรูปที่ 2 สร้างมาเพื่อลดผลการรบกวนจากสนามแม่เหล็กภายนอก . โช้คแบบนี้สามารถ ติดตั้งชิดๆกันหลายๆตัวเลยก็ได้.

รูปที่ 2 โครงสร้างของโช้คความถี่สูงแบบป้องกันการรบกวน

โช้คที่มีค่าความเหนี่ยวนำต่ำๆ มักพันเป็นแบบโซลินอยด์ ( solenoid ) โดยพันเพียงชั้นเดียวมักจะมีค่าความเหนี่ยวนำ อยู่ในช่วง 0.1 ไมโครเฮนรี ถึง 200 ไมโครเฮนรี โช้คที่มีค่าความเหนี่ยวนำต่ำมากๆ ประมาณ 10 ไมโครเฮนรีลงไป จะพันบนแกนที่ทำด้วยสารที่ ไม่เป็นแม่เหล็ก. ถ้าแกนเป็นผงเหล็กจะมีค่าความเหนี่ยวนำสูงขึ้นมาอยู่ในระหว่าง 5 ไมโครเฮนรี ถึง 100 ไมโครเฮนรี และ ถ้าเป็นเฟอร์ไรต์จะ มีค่าสูงขึ้นไปถึง 200 ไมโครเฮนรี

โช้คที่มีค่าความเหนี่ยวนำสูงๆ หน่อย มักจะพันกันแบบหลายชั้น. แต่การพันแบบหลายชั้นนั้นมีข้อจำกัด คือ ค่าความจุที่ เกิดขึ้นระหว่างเส้นลวดกันเองจุสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อจำนวนรอบเพิ่มขึ้น ทำให้ใช้กับสัญญาณความถี่ สูงๆไม่ได้. โช้คที่พันขดลวด แบบหลายชั้น จะมีค่าความเหนี่ยวนำอยู่ในช่วง 20 ไมโครเฮนรี ถึง 10 ไมโครเฮนรี และ มักจะใช้แกนเป็นผงเหล็ก หรือไม่ก็ เฟอร์ไรต์

โช้คที่พันเป็นแบบพาย ( piewound ) มักจะมีค่าตั้งแต่ 47 ไมโครเฮนรี ไปจนถึง 10 ไมโครเฮนรี โช้คแบบพายจะพันลวด เป็นรูปคล้ายวงแหวน มีตำนวนชั้นมาก และ พันซิกแซกไปมา เพื่อลดค่าความจุระหว่างเส้นลวดลงไป. โช้คแบบพายอาจมีลวด ที่พันเป็นวงแหวนอยู่ได้ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 หรือ 6 ชุดเพื่อเพิ่มค่าความเหนี่ยวนำให้สูงขึ้น ปรกติแล้วความกว้าง , เส้นผ่าศูนษ์กลาง และ จำนวนรอบของขดลวดวงแหวน มักจะเท่ากัน. แต่ก็ไม่แน่เสมอไป สำหรับโช้คที่ใช้ในงานพิเศษ อาจลดเส้นผ่านศูนษ์กลาง และ เพิ่มความกว้างขึ้นได้ ซึ่งจะทำให้ได้ค่าความเหนี่ยวนำที่แน่นอนกว่า.

โช้คอีกแบบหนึ่ง คือ แบบโปรแกรสสีฟ แล็ทเทอราล ( progressive lateral ) คล้ายๆ แบบพาย แต่ แทนที่จะพันขอ ลวดซิกแซกขึ้นทางด้านสูง กลับพันซิกแซกไปรอบๆ แกน. วิธีนี้ ช่วยลดค่าความจุที่เกิดขึ้น ระหว่างเส้นลวด และ มีค่าความเหนี่ยว นำแน่นอนกว่า.

โช้คที่ถูกห่อหุ้มจนมิดทั้งตัว อาจเป็นได้ทั้งแบบที่พันขดลวดชั้นเดียว หรือ หลายชั้น และ อาจหล่อด้วยอะไรก็ได้ที่เหมาะสม เช่น อีพ๊อกซี่ เป็นต้น. โช้คแบบพายบางที ถูกห่อจนมิดก็มี แต่มักจะเคลือบด้วยขี้ผึ้งมากกว่า.


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.