กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
โช้คความถี่สูง : ธนาวุฒิ ไกรฤทธิกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 43

หน้าแรก
โครงสร้าง
คุณสมบัติการทำงาน
การอ่านค่า

การอ่านค่า

รูปที่ 8 รหัสสีของโช้คที่ใช้แบบเดียวกับตัวต้านทาน

รูปที่ 9 รหัสสีแบบใช้ความกว้างของแถบสีบอกตำแหน่งของจุดทศนิยม

รูปที่ 10 การอ่านค่าแบบนี้คล้ายในรูปที่ 8 แต่ใช้สีทองแทนจุดทศนิยม ถ้าค่าความเหนี่ยวนำน้อยกว่า 10 mH

รูปที่ 11 โช้คขนาดเล็กที่ใช้ติดตั้งบนแผ่นวงจรพิมพ์บางทีอาจใช้จุดสีแทนแถบสีก็ได้ แต่การอ่านค่ายังคงเหมือนเดิม

การเขียนค่าความเหนี่ยวนำของโช้คนั้นเขียนได้หลายวิธี. วิธีการใช้รหัสสีได้อธิบายย่อๆ ไว้แล้วในรูปที่ 8 , 9 , 10 และ 11. หน่วยของค่าความเหนี่ยวนำตามปกติใช้เป็นไมโครเฮนรี่ ( mH ) เสมอ. การบอกว่าเป็นรหัสตัวเลขก็เป็นแบบง่ายๆ เช่น โช้คที่มีค่าความเหนี่ยวนำไม่เกินกว่า 100 mH จะใช้ตัวเลขเพียง 3 ตัวเท่านั้น แล้วใช้ ตัว R แทนจุดทศนิยม ดังตัวอย่าง.

0.68 mH เขียนเป็น R68 0

4.7 mH เขียนเป็น 4R7 0

33 mH เขียนเป็น 33R 0

สำหรับโช้คที่มีค่าความเหนี่ยวนำตั้งแต่ 100 mH ขึ้นไป จะเขียนด้วยตัวเลข 4 ตัว เท่านั้น. สามตัวแรกบอกค่าตัวเลขข้าง หน้า และ ตัวสุดท่ฃ้ายบอกจำนวนเลขศูนษ์ที่ต่อท้ายดังตัวอย่าง.

680 mH เขียนเป็น 6800

4700 mH เขียนเป็น 4701

33000 mH เขียนเป็น 3302

ยังมีตัวอักษรที่ต่อท้ายอีกตัวหนึ่ง ซึ่งจะบอกค่าเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาดของค่าความเหนี่ยวนำ ดังต่อไปนี้

J = 5%

K = 10%

M = 20%


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.