กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
โซลินอยด์ : ฤทธิ์ ธีระโกเมน

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 46

หน้าแรก
หลักการทำงานของโซลินอยด์
ขั้นตอนการเลือกใช้โซลินอยด์
แนวความคิดใน การเอาโซลินอยด์ไปประยุกต์ใช้
ข้อระวังในการใช้โซลินอยด์ เพื่อให้ อายุยืนยาวที่สุด

โซลินอยด์

หลายคนฟังชื่อแล้วอาจทำให้คิดถึง แอนดรอยด์ ( หุ่นมนุษย์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ) เพราะลงท้ายด้วยเสียงออยด์เหมือนกัน แถมยังมีโซลิมานำหน้าอีก ทำให้นึกก้าวหน้าต่อไปถึงขนาดเป็นหุ่นมนุษย์พลังแสงแดด กรุณาอย่าจินตนาการไปถึงขนาดนั้นเลยครับ เรากลับมาเข้าเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่า เข้าใจว่ารากศัพท์ของโซลินอยด์น่าจะมาจากคำว่า โซเลน ( Solen ) ซึ่งมี ความหมายทางแพทย์เป็นคล้ายๆ เฝือกหุ้มอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งก็อาจจะอยู่ในลักษณะของปลอกแขน หรือ ปลอกขา เมื่อมี ประดิษฐ์กรรมตัวนี้เกิดขึ้น ซึ่งโครงสร้างของมันก็คือ ขดลวดพันรอบๆ แกนสารแม่เหล็ก ( ดังเช่น รูปที่ 1 ) นั้นเอง ลักษณะก็ เป็นคล้ายๆ ทรงกระบอก เช่นกัน ศัพท์โซลินอยด์จึงอาจจะถูกเรียกมาเป็นเช่นนี้

รูปที่ 1 โครงสร้างพื้นฐานของโซลินอยด์

เราใช้โซลินอยด์มาประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องการเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกลโดยตรง โดยสัญญาณไฟฟ้า ที่ป้อนเข้ามาทางขดลวด จะทำให้แกนสารแม่เหล็กของโซลินอยด์เกิดการเคลื่อนที่ขึ้น การเคลื่อนที่นี้เองที่เรานำไปใช้ประโยชน์ เช่น ขัดกลอนประตูเอาไว้ , ไปถีบกระเดื่องทำให้กลไกทำงาน หรือ หยุดทำงาน ฯลฯ เราจะมาศึกษาโซลิ นอยด์ที่ใช้กันซึ่งมีทั้ง ชนิดใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ และไฟฟ้ากระแสตรง


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.