กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
โซลินอยด์ : ฤทธิ์ ธีระโกเมน

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 46

หน้าแรก
หลักการทำงานของโซลินอยด์
ขั้นตอนการเลือกใช้โซลินอยด์
แนวความคิดใน การเอาโซลินอยด์ ไปประยุกต์ใช้
ข้อระวังในการใช้โซลินอยด์ เพื่อให้ อายุยืนยาวที่สุด

ข้อระวังในการใช้โซลินอยด์เพื่อให้อายุยืนยาวที่สุด

1. ถ้าคุณกำลังใช้โซลินอยด์ไฟสลับจะต้องทำกลไกให้มั่นใจได้ว่า โซลินอยด์จะดูดแกนเข้ามาหาสุดตัวเต็มที่ ถ้าไม่เช่นนั้น กระแสในโซลินอยด์จะสูงและเกิดความร้อน และขดลวดอาจจะไหม้ได้ การดัดแปลงแก้ไขก็ กระทำกันดังรูปที่ 9 โดยถ้าเกิดมีการ ติดขัดด้านโหลด สปริงเชื่อมต่อ (joint spring) เพิ่มเติมนี้จะยืดตัวให้แกนเคลื่อนที่เข้าไปสุดได้

รูปที่ 9 แสดงการเพิ่มเติมสปริงเชื่อมต่อเพื่อให้แน่ใจว่าโซลินอยด์จะดูดได้เต็มที่กว่า

2. ควรระวังให้แนวการเคลื่อนที่ของแกนกระทุ้งอยู่ในแนวแกนเสมอในกรณีที่ การเคลื่อนที่จะเป็นส่วนโค้ง ก็อาจเพิ่มข้อต่อ เข้ามาดังรูปที่ 10 เพื่อช่วยให้การเคลื่อนที่ของแกน กระทุ้งอยู่ในแนวแกนมากขึ้น

รูปที่ 10 แสดงการใช้ข้อต่อมาช่วยให้แกนกระทุ้งเคลื่อนที่อยู่ในแนวแกน

3. พยายามอย่าวางตำแหน่งโซลินอยด์อยู่ใกล้หรือติดกับสารแม่เหล็ก เพราะอาจจะมีสนามแม่เหล็กส่วนหนึ่งรั่วไหลออกไป ได้อันจะเป็นเหตุให้แรงดึงดูดลดลง ควรแก้ไขโดยเพิ่มฉนวนแม่เหล็กแทรกเข้าไปด้วย

4. ต้องติดตั้งตัวถังโซลินอยด์ให้แน่นหนา เนื่องจากโซลินอยด์เป็นตัวส่งกำลังทางกล ฉะนั้นเมื่อมีแรงกริยาออกมา ก็ย่อม ต้องมีแรงปฏิกิริยาเกิดขึ้นกับตัวถังของโซลินอยด์ ถ้ายึดไม่แน่นพอในระยะยาวอาจจะทำให้เกิดการสั่น หรือหลุด หรือหลวมได้

ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงพอจะได้ ทำให้มือออกแบบหรือมือสมัครเล่น พอจะมีแนวทางหรือแนวความคิดในการนำเอา โซลินอยด์ไปใช้งาน ตลอดจนเป็นประโยชน์ ในการปรับปรุงหรือตรวจซ่อมให้บริการโซลินอยด์ต่าง ๆ ที่ใช้งานอยู่แล้วในปัจจุบัน

 


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.