หน้าแรก
หลักการทำงานของโซลินอยด์
ขั้นตอนการเลือกใช้โซลินอยด์
แนวความคิดใน การเอาโซลินอยด์ไปประยุกต์ใช้
ข้อระวังในการใช้โซลินอยด์
เพื่อให้ อายุยืนยาวที่สุด
|
แนวความคิดในการนำเอาโซลิ นอยด์ไปประยุกต์ใช้
สำหรับโซลินอยด์ที่แรงดึงไม่มากนัก
- ทำเป็นกลอนล็อกประตู เมื่อมีแรงดันมาที่ขอลวด
โซลิ นอยด์ก็จะดึงแกนกระทุ้งกลับ เป็นการปลดล็อก
- ชูป้ายโฆษณา ( display ) ในกรณีนี้ถ้าโซลินอยด์ยังไม่ทำงาน
สปริงจะถึงป้ายให้ตั้งฉากกับหน้าต่างป้ายทำให้เรา ไม่เห็นตัวหนังสือ แต่ถ้าโซลินอยด์
ได้รับแรงดันเข้ามา แกนกระทุ้งจะถูกดูดทำให้คานดีดงัด หน้าป้ายโฆษณาออกมา
ให้เราเห็นได้
- ใช้กับกลไกของเล่นที่ทำด้วยอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
เช่น หุ่นยนต์ รถยนต์ และ อื่นๆ อีกมาก
รูปที่ 8 แสดงตัวอย่างการนำโซลินอยด์ที่มีแรงดึงมากไปใช้งาน
สำหรับโซลินอยด์ที่มีแรงดึงมาก
( เช่นในงานอุตสาหกรรม ) ขอให้ดูรูปที่ 8 ประกอบด้วย
- กลไกอินเตอร์ล็อก ใช้กับพวกเครื่องหยอดเหรียญต่างๆ
, เครื่องเล่นทางอิเล็กทรอนิกส์ , กระเดื่องทริป ของเซอกิตเบรกเกอร์,ฯลฯ
- ควบคุมลิ้นของไหล พวกลิ้นปิดเปิดทางเดินของลม
หรือ น้ำมันในระบบนิวแมติก และ ไฮโดรลิกส์ , ควบคุมลิ้นทิ้งน้ำของ เครื่องซักผ้า
- ช่วยในการนับจำนวนสินค้า โดยวงจรนับจะส่งแรงดันมาที่โซลิ
นอยด์ เป็นช่วงเวลาที่จะได้จำนวนตามต้องการ.โซลิ นอยด์ จะดูด และ เบนทิศทางสินค้าไปลงหีบห่อ
ตามจำนวนที่ถูกต้อง
- ระบบเบรก ใช้ควบคุมระบบเบรกในเครื่องจักรกล
, เครื่องมือช่างไม้ , ลิฟท์ , รอก ฯลฯ
- ควบคุมการทำงานของคลัทซ์ โดยการดึงให้หน้าคลัตช์เข้ามาแตะกันเป็นการถ่ายทอดกำลังผ่านไปได้
- ควบคุมกลไกคานงัดแรง ในเครื่องมือสำนักงาน
, เครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ , เครื่องบันทึกสัญญาณ
- ควบคุมการเจาะและพิมพ์ของเครื่องจักร
ก็โดยการดัดแปลงติดตั้งหัวเจาะ และ พิมพ์เข้าบนแกนของโซลินอยด์
- ควบคุมการปิดเปิดของฮอปเปอร์ (
hopper - คล้ายกับปากกรวย มีหน้าที่เป็นทางไหลของวัตถุที่อยู่ในโซโล )
|