หน้าแรก
หลักการทำงานของโซลินอยด์
ขั้นตอนการเลือกใช้โซลินอยด์
แนวความคิดใน
การเอาโซลินอยด์ไปประยุกต์ใช้
ข้อระวังในการใช้โซลินอยด์
เพื่อให้ อายุยืนยาวที่สุด
|
ขั้นตอนการเลือกใช้โซลินอยด์
 ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก
เราจะคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ คือ
- แรงดันใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นไฟตรง
หรือ ไฟสลับ ถ้าเป็นไฟสลับก็ต้องดูความถี่ใช้งานให้ตรงตามต้องการ ด้วย
- ช่วงซักใช้งาน ( operating stroke
) ของโซลินอยด์จะต้องเคลื่อนที่เป็นระยะทางเท่าใด ( จะกำหนดเป็นมิลลิเมตร
)
- ขนาดของโหลด ว่าต้องใช้แรงขนาดเท่าใด
มักจะบอกเป็นกรัม
- ใช้งานต่อเนื่องหรือไม่ การใช้งานต่อเนื่อง
( continuous ) หมายถึง เราอาจจะใส่แรงดันไฟเข้าขดลวดค้างไว้ได้เลย โดยขดลวดไม่ไหม้
หรือ เป็นแบบจังหวะๆ ( intermitent duty )

แสดงตัวอย่างการนำโซลินอยด์ที่แรงดึงไม่มากนักไปใช้งาน

รูปที่
6 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับระยะช่วงชักของโซลินอยด์ไฟตรง
12 V ยี่ห้อโคอิเกะรุ่น
SB-102
ในรูปที่
6 เป็นตัวอย่างกราฟแสดงความสัมพันธ์ของแรงกับระยะช่วงชักของโซลินอยด์ จะเห็นว่าช่วงชักไกลๆ
จะมีแรงน้อยมาก และ ที่ระยะใกล้เข้ามาแรงก็จะมากขึ้นเป็นทวีคูณ ในกรณีนี้โซลินอยด์จะให้แรงดูด
200 กรัม ที่ระยะช่วงชัก 3 มม. และ จะให้แรงถึง 400 กรัมในช่วงชักสั้นๆ ขนาด
1 มม. |