กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
ไตรแอกและเอสซีอาร์ ตอนที่ 1 : พลผดุง ผดุงกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 91 เดือน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2532

หน้าแรก
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของ เอสซีอาร์ ในการควบคุมระบบไฟตรง
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของ เอสซีอาร์ ในการควบคุมระบบไฟสลับ
ทฤษฎีพื้นฐานของไตรแอก
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของ ไตรแอก
การควบคุมกำลังไฟแบบเฟส ทริกเกอร
สัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ
เทคนิคการใช้จุดตัดศูนย์





สัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ

ในทุก ๆ ครั้งที่ไตรแอกเริ่มทำงานนั้น กระแสที่จ่ายให้แก่โหลดก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากศูนย์ไปยังค่าที่กำหนดจากความต้านทานภายในของโหลด และแรงดันที่ให้ภายในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2 - 3 x 10 - 6 วินาที การเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดนี้ จะส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ หรือเรียกว่า RFI ขึ้น ค่า RFI ที่เกิดขึ้นนี้จะมีค่ามากที่สุดในตำแหน่งที่มีการทริกที่เฟส 90 องศาและมีค่าต่ำสุดที่ 0 องศา และ 180 องศา ในทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับที่ใช้

ในกรณีของวงจรหรี่ไฟนั้น อาจจะต้องใช้สายที่ต่อระหว่างวงจรกับโหลดยาวมาก ดังนั้น RFI จะมีผลมากเนื่องจากสามารถกระจายคลื่นสัญญาณรบกวนได้ตลอดความยาวของสาย ดังนั้น ในทางปฏิบัติควรจะมีวงจรเรโซแนนซ์ที่ทำหน้าที่ลดสัญญาณ RFI นี้ต่ออยู่ด้วย

 


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.