กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
ไตรแอกและเอสซีอาร์ ตอนที่ 2 : พลผดุง ผดุงกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 92 เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2532

หน้าแรก
การออกแบบวงจรใน ลักษณะอะซิงโครนัส
การออกแบบวงจรใน ลักษณะซิงโคนัส
ตัวอย่างวงจรที่ใช้งาน แบบอะซิงโคนัส
ตัวอย่างวงจรที่ใช้ งานแบบซิงโคนัส
วงจรหรี่ไฟ
วงจรควบคุมความเร็ว ของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์



ตัวอย่างวงจรที่ใช้งานแบบอะซิโครนัส

ไตรแอกสามารถนำมาใช้เป็นตัวควบคุมระดับความร้อนของตัวให้ความร้อนที่ใช้ไฟฟ้าได้อย่างง่าย ๆ เช่น พวกเตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้า หรือเตารีด เป็นต้นโดยอาศัยเทอร์โมสตัต หรือเทอร์มิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ ในการเปรียบเทียบอุณหภูมิตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปในรูปที่ 19 และ 20 ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ควบคุมการจ่ายไฟอัตโนมัติให้แก่โหลดที่เป็นตัวให้ความร้อน เพื่อควบคุมให้ระดับความร้อนที่มีค่าคงที่

เนื่องจากอุปกรณ์ที่ให้ความร้อนประเภทนี้จะกินกำลังไฟสูง (วัตต์สูง) ดังนั้นการออกแบบควรจะต้องระมัดระวังในเรื่องของ RFI ด้วย การออกแบบที่ใช้ไฟตรงเป็น ตัวกระตุ้นให้ไตรแอกทำงานนั้นอาจทำให้ผลของ RFI มีค่าสูง ซึ่งจะไปรบกวนคลื่นวิทยุได้ ดังนั้นทางที่ดีควรออกแบบในลักษณะที่เป็นซิงโครนัสเพื่อลดผลของ RFI ลงในขณะที่ไตรแอกเริ่มทำงานในแต่ละครั้ง

รูปที่ 19 การใช้เทอโมสตัต ในการควบคุมอุณหภูมิของตัวให้ความร้อน

วงจรในรูปที่ 19 และ 20 เป็นการออกแบบโดยใช้ไฟตรงในการควบคุมการทำงานของตัวให้ความร้อน ทั้งสองวงจรนี้ไฟตรงจะถูกสร้างจากส่วนของวงจรที่ประกอบด้วย T1, D1 และ C1 ส่วนตัวให้ความร้อนจะถูกควบคุมให้ทำงานได้ 2 ลักษณะคือ การเปิด/ปิดด้วยมือ หรือแบบอัตโนมัติ โดยใช้สวิตช์ S1 ในรูปที่ 19 เป็นการใช้เทอโมสตัตในการเปิด/ปิดการทำงานโดยอัตโนมัติซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของตัวให้ความร้อนนั้นเอง

รูปที่ 20 การใช้เทอมิสเตอร์ในการควบคุมอุณหภูมิของตัวให้ความร้อน

ในรูปที่ 20 เป็นการใช้เทอร์มิสเตอร์ (R7) ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงความต้านภายในตามอุณหภูมิ ความต้านทาน VR1, R7 และ R2, R3 ต่อกันอยู่ในลักษณะเป็นวงจรบริดจ์ โดยทรานซิสเตอร์ Q1 ทำหน้าที่เป็นตัวตรวจสอบความไม่สมดุลย์ของวงจรบริดจ์ ส่วน VR1 ใช้ในการปรับตั้งระดับอุณหภูมิทำให้ Q1 เริ่มทำงานเมื่ออุณหภูมิของตัวให้ความร้อนต่ำกว่าระดับที่ตั้งไว้ โดยจะทำให้ Q1 และไตรแอกทำงานตามไปด้วย แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่าระดับนี้ Q1, Q2 และไตรแอกจะหยุดทำงาน

เนื่องจากแรงดันที่ให้แก่ขาเกตของไตรแอกนั้นจะเป็นบวกเสมอ แต่กระแสที่ไหลผ่านไตรแอกนั้นเป็นกระแสสลับ ดังนั้นจะมีทั้งช่วงบวกและลบ จากคุณสมบัติของไตรแอก ถ้าแรงดันที่คร่อมไตรแอกและที่เกตมีขั้วที่เหมือนกัน นั่นคือเป็นบวกหรือลบเหมือนกัน ไตรแอกจะถูกกระตุ้นให้ทำงานได้โดยง่าย แต่ถ้าในกรณีที่มีขั้วตรงข้ามกัน การกระตุ้นจะต้องใช้ระดับ กระแสที่กระตุ้นที่เกตสูงกว่าเดิมไตรแอกจึงจะทำงาน ดังนั้นในกรณีนี้ถ้าอุณหภูมิของตัวให้ความร้อนต่างกับอุณหภูมิที่ตั้งไว้มาก ไตรแอกก็จะยอมให้กระแสไหลผ่านตัวมัน ทั้งในช่วงบวกและลบ ซึ่งเป็นการจ่ายกำลังไฟให้แก่ตัว ให้มันต่างกันอุณหภูมิที่ตั้งไว้เพียงเล็กน้อยไตรแอกจะทำงานเฉพาะช่วงที่กระแสเป็นบวกเท่านั้น จึงเป็นการจ่ายกำลังไฟ ให้แก่ตัวให้ความร้อนเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นจากการทำงานในลักษณะนี้ จึงเป็นการควบคุมระดับอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.