ตัวอย่างวงจรที่ใช้งานแบบซิงโครนัส

รูปที่ 21 การควบคุมอุณหภูมิโดยใช้เทคนิคของจุดตัดศูนย์
รูปที่
21 เป็นการใช้งานของ CA3059 ร่วมกับเทอร์มิสเตอร์ในการควบคุมอุณหภูมิของตัวให้ความร้อน
ที่ใช้ไฟฟ้าวงจรจะมีลักษณะคล้ายกับ รูปที่ 17 ยกเว้นเทอร์มิสเตอร์ (R3) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวตรวจสอบอุณหภูมิ
โดยสามารถตั้งอุณหภูมิที่ต้องการได้ด้วยการปรับค่า R2

รูปที่ 22 การปรับปรุงวงจรควบคุมอุณหภูมิให้มีความเที่ยงตรงสูง
ส่วนในรูปที่
22 เป็นการปรับปรุงการทำงานของวงจรควบคุมอุณหภูมิให้ที่ผิดพลาดไปกว่าที่กำหนดไว้เพียง
0.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ในวงจรนี้แรงดันคร่อมเทอร์มิสเตอร์ จะถูกป้อนให้แก่ขา
13 ของ CA3059 และสัญญาณแรมพ์ (ramp) หรือเรียกว่าสัญญาณฟันเลื่อยที่มีคาบเวลาเท่ากับ
300 มิลลิวินาที โดยมีจุดกึ่งกลางความสูงเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของแรงดันที่ขา
2 ถูกป้อนให้แก่ขา 9 เพื่อเป็นระดับแรงดันเปรียบเทียบให้แก่ส่วนของวงจรเปรียบเทียบระดับแรงดันของ
CA3059
สัญญาณนี้ได้มากจากไอซีเบอร์
555 หรือ IC1 การทำงานของวงจรทั้งหมดเป็นดังนี้ เมื่ออุณหภูมิของตัวให้ความร้อนต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้มาก
ไตรแอกจะถูกกระตุ้น ให้จ่ายกำลังไฟแก่โหลดอย่างเต็มที่ หรือถ้าอุณหภูมิสูงกว่าค่าที่กำหนดมากก็จะหยุดทำงาน
แต่ถ้าอุณหภูมิต่างกับค่าที่กำหนดไว้เล็กน้อยคืออยู่ในช่วง 0.5 องศาเซลเซียส
สัญญาณฟันเลื่อยที่ให้จะมีผลต่อการทำงาน โดยขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของช่วงของคาบเวลาเปิดและปิดของสัญญาณที่เรียกว่า
Mark/Space ratio หรือ M/S
ยกตัวอย่างเช่นถ้าอัตราส่วนของ
M/S มีค่าเป็น 1:1 ดังนั้นในช่วงนี้ตัว ให้ความร้อนจะได้รับกำลังไฟเพียงครึ่งหนึ่งของกำลังไฟทั้งหมด
หรือถ้า M/S มีค่าเป็น 1:3 ตัวให้ความร้อนจะได้รับกำลังไฟเพียงครึ่งหนึ่งของกำลังไฟเพียง
1 ใน 4 ของทั้งหมดเท่านั้น ลักษณะการทำงานแบบนี้ได้เยอธิบายไว้ในตอนท้ายของบทความตอนที่แล้ว
ส่วนการควบคุมอัตราส่วนของ R2 และ R3 ในวงจรขอให้ลองกลับไปดูการทำงานของวงจร
555 ที่มีผลจากความต้านทานทั้งสองนี้ จากการทำงาน ของวงจรทั้งหมดจะเห็นได้ว่าเป็นการควบคุมอุณหภูมิได้เที่ยงตรงกว่าแบบอื่น
ๆ
|