ไตรแอกและเอสซีอาร์ ตอนที่ 2
: พลผดุง ผดุงกุล
|
|
หน้าแรก |
วงจรควบคุมความเร็วของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ ยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ เป็นมอเตอร์ประเภทหนึ่งที่สามารถใช้ระบบไฟได้ทั้งแบบไฟสลับและไฟตรง โดยความเร็วของมอเตอร์ประเภทนี้ขึ้นอยู่กับกำลังไฟที่ให้แก่ตัวมัน ดังนั้นเราจึงสามารถนำเอาไตรแอกหรือเอสซีอาร์มาใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์ประเภทนี้ได้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วมอเตอร์ประเภทนี้จะระยุความเร็วไว้ค่าเดียว และกำหนดแรงดันของไฟที่ใช้ การใช้ไตรแอกเพื่อควบคุมความเร็วของมอเตอร์จะสามารถทำได้โดยสมบูรณ์โดยใช้วงจรที่แสดงไว้ในรูปที่ 27 รูปที่ 27 การใช้ไตรแอกในการควบคุมความเร็วของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ วงจรในรูปที่ 27 นี้ ใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้กับโหลดไม่มากนัก เช่น เครื่องผสมอาหารหรือเลื่อยขนาดเล็กเป็นต้น แต่สำหรับมอเตอร์ที่ใช้กับโหลดมาก เช่น สว่านไฟฟ้า หรือเครื่องขัดกระดาาทรายเป็นต้นควรจะใช้วงจรอีกแบบหนึ่งที่ใช้เอสซีอารืฃ์ควบคุมดังแสดงไว้ในรูปที่ 28 รูปที่ 28 การใช้เอสซีอาร์ในการควบคุมความเร็วของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์ เอสซีอาร์จะทำหน้าที่ควบคุมกำลังไฟฟ้าที่จะป้อนให้แก่มอเตอร์ โดยป้อนไปให้ในลักษณะครึ่งรูปคลื่น ซึ่งจะทำให้กำลังและความเร็วของมอเตอร์ลดลงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่าวงจรนี้ประกอบด้วย R1, R2 และ D1 เป็นตัวกำหนดของการกระตุ้นที่เฟสไม่เกิด 90 องศา ซึ่งเป็นช่วงที่แรงบิด (Torque) ของมอเตอร์มีค่าสูง และสิ่งนี้เองที่จำเป็น จะต้องใช้เอสซีอาร์ในการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ที่โหลดมากหรือต้องการแรงบิดมากนั่นเอง เพราะในกรณีนี้ที่ความเร็ว ของมอเตอร์ถึงแม้จะต่ำแต่ก็ยังมีแรงบิดสูง ซึ่งต่างจากการใช้ไตรแอก ถ้ามีความเร็วเท่ากันแต่แรงบิดจะต่ำกว่ามาก เนื่องจากตำแหน่งของเฟสที่ใช้กระตุ้นไตรแอกให้ทำงานนั้นเกิน 90 องศา ทำให้แรงบิดต่ำลงนั่นเอง
|
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved. |