กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
ไตรแอกและเอสซีอาร์ ตอนที่ 2 : พลผดุง ผดุงกุล

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 92 เดือน พฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. 2532

หน้าแรก
การออกแบบวงจร ในลักษณะอะซิงโครนัส
การออกแบบวงจร ในลักษณะซิงโคนัส
ตัวอย่างวงจรที่ใช้งาน แบบอะซิงโคนัส
ตัวอย่างวงจรที่ใช้งาน แบบซิงโคนัส
วงจรหรี่ไฟ
วงจรควบคุมความเร็ว ของยูนิเวอร์แซลมอเตอร์




วงจรหรี่ไฟ

วงจรหรี่ไฟก็เป็นการใช้งานที่สำคัญอีกแบบหนึ่งของไตรแอก โดยอาศัยการกระตุ้นที่ตำแหน่งเฟสที่คงที่ของสัญญาณไฟสลับ ที่ให้เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณกำลังไฟที่ป้อนให้แก่ โหลดที่เป็นหลอดไฟในวงจรประเภทนี้ จำเป็นต้องมีวงจรกรองความถี่แบบ LC เพื่อลดผลของ RFI ที่เกิดขึ้น

เทคนิคของการกระตุ้นที่ตำแหน่งเฟสคงที่นั้นที่นิยมใช้มีอยู่ 3 วิธีคือ การใช้ไดแอกร่วมกับวงจร RC, การใช้ UJT และการใช้ไอซีที่สร้างขึ้นเฉพาะในการกระตุ้นให้ไตรแอกทำงาน

รูปที่ 23 วงจรหรี่ไฟแบบพื้นฐาน

ในรูปที่ 23 แสดงถึงวงจรที่ใช้ไดแอกเป็นตัวสร้างสัญญาณกระตุ้นให้แก่ไตรแอก ผลที่เกิดขึ้นสำหรับวงจรนี้คือการควบคุมความสว่างของหลอดไฟจะไม่สมบูรณ์เนื่องฮิสเทอรีซิส หรือเรียกว่าแบคแลช (backlash) นั่นคือ ในขณะที่ทำการลดความสว่างของหลอดไฟจนกระทั่งดับ โดยการปรับค่า VR1 ให้สูงสุดนั้น ถ้าต้องการให้หลอดไฟเริ่มสว่างอีกครั้ง จะต้องปรับ VR1 ไปเป็นค่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของค่าสูงสุด ความสว่างที่ได้จะไม่ใช่ค่อย ๆ เริ่มสว่าง แต่จะสว่างขึ้นเล็กน้อยอย่างทันทีทันใด จึงเป็นการทำให้ควบคุมความสว่างได้ไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากในขณะที่ไดแอกกระตุ้นไตรแอกนั้นจะเป็นการคายประจุของ C1 ออกไปด้วย

รูปที่ 24 วงจรหรี่ไฟที่ปรับปรุงให้สามารถควบคุมความสว่างได้สมบูรณ์

ผลของแบคแลชที่เกิดขึ้นนี้สามารถลดลงได้โดยต่อความต้านทานค่า 47 โอห์มอนุกรมเข้ากับไดแอก เพื่อลดผลของการคายประจุของ C1 แต่วิธีการที่ดีที่สุดที่นิยม ใช้กันได้แสดงไว้ใน รูปที่ 24 ในที่นี้ไดแอก จะถูกกระตุ้นจาก C2 แทน ซึ่งจะมีระดับแรงดันตกคร่อมเป็นไปตาม C1 แต่ C1 จะถูกลดผลของการคายประจุในขณะที่ไดแอกทำงานโดยความต้านทาน R2

รูปที่ 25 การใช้ UJT เป็นตัวกระตุ้นไตรแอกทำงานโดยไม่มีผลของแบคแลช

ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถตัดผลของแบคแลชได้สมบูรณ์คือการใช้ UJT ในการกระตุ้นให้ไตรแอกทำงาน ดังแสดงไว้ในรูปที่ 25 UJT (Q1) จะรับแรงดันขนาด 12 โวลต์ ที่สร้างขึ้นจากซีเนอร์ไดโอด D2 การทำงานของ UJT จะสัมพันธ์กับคาบของสัญญาณไฟสลับที่ให้โดยใช้วงจรตรวจจับจุดตัดศูนย์ที่ประกอบด้วย Q2, Q3 และ Q4 ทรานซิสเตอร์ Q4 จะทำหน้าที่จ่ายแรงดันให้แก่วงจรของ UJT ในทุก ๆ ครั้งที่สัญญาณไฟสลับผ่านจุดตัดศูนย์ส่วน UJT จะทำงานหลังจากช่วงเวลานั้นไปโดยสามารถกำหนดได้จากค่าของ R5, VR1 และ C2 UJT จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ไตรแอกทำงานในทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับ ดังนั้นเราสามารถปรับความสว่างของหลอดไฟได้โดยการปรับค่า VR1 และจะไม่เกิดผลของแบคแลชขึ้น

รูปที่ 26 การใช้ไอซีเบอร์ S566B ในการควบคุมการทำงานของไตรแอกสำหรับวงจรหรี่ไฟ

รูปที่ 26 แสดงถึงการใช้ไอซีเบอร์ S566B ที่สร้างขึ้นพิเศษสำหรับเป็นตัวกระตุ้นไตรแอกในวงจรหรี่ไฟ ที่ควบคุมด้วยสวิตช์สัมผัส หรือสวิตช์กดหรือออปโต้ไอโซเลเตอร์ก็ได้ การรับอินพุตของ S566B นั้น เป็นลักษณะคล้ายระดับสัญญาณลอจิกที่ไปควบคุมการเพิ่มหรือลดความสว่างของหลอดไฟ นั่นคือถ้าแตะสวิตช์สัมผัสหรือกดสวิตช์ หรือให้สัญญาณควบคุม 5 โวลต์แก่ออปโต้ไอโซเลเตอร์นานเท่าใดความสว่างของหลอดไฟจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจาก 3 เปอร์เซ็นต์ ไปจนถึง 97 เปอร์เซ็นต์สูงสุด และจะเพิ่มขึ้นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป

สำหรับสวิตช์สัมผัสสามารถทำได้โดยใช้แผ่นโลหะตัวนำที่ต่อไว้ลอย ๆ โดยอนุกรมกับความต้านทาน R8 และ R9 ดังรูป


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.