กลับหน้าบทความอิเล็กทรอนิกส์ | SE-ED.com | Electronics Society | ThailandIndustry.com | Webboards |
เทอร์โมคัปเปิล ตอนจบ : สว่าง ประกายรุ้งทอง

ที่มา : วารสาร SEMICONDUCTER ฉบับที่ 94 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2532

หน้าแรก
ไฟโรมิเตอร์
ไฟโรมิเตอร์ทำเอง
การทำงานของวงจร
การสร้าง
การปรับแต่ง

เทอร์โมคัปเปิล ตอนจบ

ในตอนนี้จะอธิบายถึง เทอร์โมมิเตอร์ หรือ ไพรอมิเตอร์. ในทางปฏิบัติที่สามารถใช้วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 900 องศาเซลเซียส เหมาะมากสำหรับการใช้วัดอุณหภูมิในเตาอบขนาดเล็ก ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ หรือ การปรับคุณสมบัติของโลหะด้วยความร้อน.

การใช้เทอร์โมคัปเปิลชนิด K ไพโรมิเตอร์แบบง่าย ๆ เหมาะสำหรับการวัดอุณหภูมิในเตาอบได้สูงถึง 900 องศา

จากตอนที่แล้วได้กล่าวถึงการใช้ความร้อนในการปรับคุณสมบัติของโลหะ ซึ่งทำมาจากเหล็กกล้า เงิน โดยการอบให้มี อุณหภูมิประมาณ 780องศาเซลเซียสและทิ้งไว้ที่อุณหภูมินี้ประมาณ 15 นาที จึงทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว โดยการจุ่มลงในน้ำ หรือ ของเหลวชนิดอื่น. อุณหภูมิจะต้องถูกรักษาไว้ใกล้เคียงกับค่าที่ถูกต้อง. มิฉะนั้นแล้ว ชิ้นส่วนจะไม่เกิดการแข็งอย่างสม่ำเสมอ และ จะชำรุดเสียหายเมื่อนำไปใช้งาน. ถ้าหากถูกทำให้ร้อนจนเกินไปก่อนี่จะถูกจุ่มให้เย็น. คาร์บอนบางส่วนในเนื้อเหล็กจะไหม้ สลาย ไปในทางตรงกันข้าม ถ้ากากร้อนไม่เพียงพอ " สภาวะของแข็ง " ( solid soulution ) ของเหล็กที่มีคาร์บอนที่ถูกต้อง จะไม่ เกิดก่อนที่จะทำการจุ่มให้เย็น ผลึกที่แข็งมากของมาร์เทนไซท์ก็จะไม่เกิดขึ้น.

วิธีการเก่าแก่ในการตัดสินค่าอุณหภูมิที่ถูกต้องก็โดยการดูสีของเนื้อเหล็กด้วยตา ยกตัวอย่างเช่นที่อุณหภูมิ 780 องศาเซลเซียส จะอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างแดงเชอรี่ และ แดงสด. ซึ่งสีนี้อาจจะง่ายสำหรับคนที่มีประสบการณ์สูง แต่กับคนที่ไม่ ค่อยมีประสบการณ์อาจคะเนผิดได้. ซึ่งก็มีวิธที่ดีกว่า คือ การวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ หรือ ไพโรมิเตอร์ ( pyrometer ) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด. บางชนิดทำงานโดยการเปรียบเทียบกับสีที่อ้างอิง.


สงวนลิขสิทธิ์
พ.ศ. 2542-2553 โดยบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
Copyright © 1999-2010 by SE-EDUCATION Public Company Limited. All rights reserved.