การทำงานของวงจร
 คราวนี้มาลองดูวงจรทั้งหมดกันเลย
IC1 จะเป็นวงจรขยายแรงดันให้เป็นกระแสแบบพื้นฐาน. ดังแสดงในรูปที่
1 โดยการ ใช้ออปแอมป์เบอร์ 741 แบบมาตราฐานราคาถก . เนื่องจากเราไม่ต้องการลักษณะพิเศษในรูปของค่าอินพุตอิมพีแดนซ์ที่สูง
หรือ ความสามารถในการขับเอาท์พุต
.
รูปที่
1 วงจรพื้นฐานที่ใช้ในวงจรวัดของไพโรมิเตอร์เพื่อทำหน้าที่เป็นวงจรแปลงแรงดันให้เป็นกระแส
ออปแอมป์ตัวที่สอง
IC2 ใช้สำหรับแบ่งแรงดันของแหล่งจ่ายไฟขนาด 9 โวลต์ เพื่อให้ IC1
ทำงานในส่วนที่เป็นเชิงเส้น ที่สุดของเคิร์ฟการส่งผ่าน ( transfer curve
) IC2 จะถูกต่อเป็นวงจรขยายแรงดันตามที่มีอัตราขยายเท่ากับ 1 มีอินพุตต่อ
เพื่อแบ่งแรงดัน โดย R5 และ R6 เอาต์พุตอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างแรงดันของแหล่งจ่ายไฟ
และ ใช้สำหรับต่อให้เกิดระดับแรง ดันของแหล่งจ่ายไฟ และ ใช้สำหรับต่อให้เกิดระดับแรงดันไบแอสอ้างอิงสำหรับ
IC1 ตัวเก็บประจุ C2 ใช้ป้องกันสัญญาณรบ กวนใดๆ ที่จะเข้าไปยัง
IC1 โดยผ่านจุดระดับแรงดันอ้างอิง ดังนี้
เทอร์โมคัปเปิลจะถูกต่อเข้ากับอินพุต
ของ IC1 โดยผ่านเนตเวอร์กแบบง่ายๆที่ประกอบด้วย R1 , R2
และ C1 หน้าที่ของ R1 ก็เพื่อที่จะกลบผลของความต้านทานระหว่างสาย
และ ขั้วต่อในเทอร์โมคัปเปิล. ในขณะที่ C1 ใช้ป้องกันอินพุตของ
IC1 จากการลอยอยู่ ขณะที่สายโพรบอาจจะไม่ได้ต่อไว้.
โปเทนชิโอมิเตอร์
VR1 ใช้เพื่อลบล้างระดับแรงดันออฟเซ็ตของอินพุตของ IC1
ซึ่งอาจจะสูงถึง + 15 มิลลิโวลต์ ซึ่ง ค่อนข้างต่ำแต่ ก็มากเพียงพอในที่นี้.
ส่วนสุดท้าย
VR 2 R 3 R 4 ทั้งหมดนี้ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานป้อนกลับแระแสเพื่อแทนที่
R f ในรูปที่ 1 แนวคิดใน ที่นี้ก็เพื่อจัดหาตัวต้านทานที่เป็นผล ซึ่งค่าของมันจะเปลี่ยนแปลงได้ในย่านแคบๆ
เพื่อทำหน้าที่ในการปรับชดเชยสำหรับค่า ความผิดพลาดจากควาคลาดเคลื่อนของการเคลื่อนที่ของมิเตอร์
และ เป็นการปรับแต่งตัวไพโรมิเตอร์.
ค่าของตัวต้านทานป้อนกลับที่แสดงไนวงจรจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จาก
45 ถึง 55 โอห์ม ( ประมาณ บวกลบ 10% จากค่า 50 โอห์ม ) ซึ่งเป็นการเพียงพอที่จะยอมให้วงจรถูกตั้งค่าความเที่ยงตรงไว้ที่
50 มิลลิโวลต์ เต็มสเกลหักเหเสมือนกับ การเคลื่อนที่จาก 0 - 1
วงจรนี้ตั้งใจสำหรับให้ใช้กับเทอร์โมคัปเปิลชนิด
K หรือ ชนิดใดๆ ก็ได้ ซึ่งสามารถอ่านค่าได้อย่างเที่ยงตรงจากมิเตอร์ ขนาด
0 - 50 mV ซึ่งรวมไปถึงชนิด J หรือ ชนิด E ( วัดได้สูงประมาณ 750 องศาเซลเซียส)
สำหรับเทอร์โมคัปเปิลที่มีค่าเอาต์พุตต่ำกว่า
เช่น ชนิด R และ S คุณจะต้องดัดแปลงค่าของ R 3 และ R 4 ใหม่เพื่อ ให้วงจรมีค่าเต็มสเกลหักเหเท่ากับ
20 mV เป็นต้น. โดยค่าของ R 3 เท่ากับ 150 โอห์ม และ R 4 เท่ากับ 27 โอห์ม
จะ สามารถมีคุณสมบัติตามนี้ โดยจะให้ผ่านการปรับจากประมาณ 18.6 ถึง 21.25
โอห์ม ( ประมาณ + 6 % จากค่า 20 โอห์ม )
|